คําถาม ทนายความโจทก์ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ในคําฟ้องอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ ได้มอบอํานาจให้ทําแทนได้ (ในใบแต่งทนายความ) ยื่นต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นสั่งรับ อุทธรณ์มา หากศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์ เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
คําตอบ คําพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๔๔/๒๕๖๒
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๖๒ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิ ในการอุทธรณ์หรือฎีกาและกระบวนพิจารณาที่เป็นไปในทางจําหน่ายสิทธิของคู่ความจึงต้อง ได้รับมอบอํานาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ทนายความจึงจะมีอํานาจดําเนินกระบวน พิจารณาดังกล่าวแทนตัวความได้
ดังนั้น เมื่อตามใบแต่งทนายความฉบับลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ที่โจทก์แต่งตั้งให้ ว. เป็นทนายความ ดําเนินคดีแทนโจทก์มิได้ระบุให้ ว. มี อํานาจยื่นอุทธรณ์แทนโจทก์ ว. จึงย่อมไม่มีอํานาจดําเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้แทนโจทก์ได้ การที่ 2. ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ในคําฟ้องอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มอบอํานาจให้ทํา แทนได้และยื่นต่อศาลชั้นต้นนั้น
เป็นคําฟ้องอุทธรณ์ที่มีข้อบกพร่อง เท่ากับคําฟ้องอุทธรณ์ไม่มี ลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้ถูกต้องก่อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘
การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์มาโดยไม่สั่ง ให้แก้ไขข้อบกพร่องจึงเป็นการดําเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ จึงชอบที่จะสั่งให้ศาล ชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่อง โดยให้โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคําฟ้องอุทธรณ์ ให้ถูกต้องแล้วจึงดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษา ยกอุทธรณ์ของโจทก์เสียทีเดียวนั้น เป็นการไม่ถูกต้อง และไม่ชอบด้วยความยุติธรรม ศาลฎีกามีอํานาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดําเนินการแก้ไขข้อบกพร่องของโจทก์ดังกล่าวได้
แต่อย่างไรก็ดี ตามใบแต่งทนายความฉบับลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑ โจทก็ได้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความ ให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาแทนโจทก์ได้ในชั้นฎีกานี้แล้ว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในชั้น ยื่นคําฟ้องอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ต้องดําเนินการในเรื่องนี้อีก
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th