การควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะเป็นเหตุให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องและศาลต้องพิพากษายกฟ้องหรือไม่
มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยว่าดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4113/2552 จำเลยฎีกาว่าจำเลยถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 11 เมษายน 2549 เป็นเวลา 86 วันเกินกว่าที่ต้องถูกควบคุมตัวจริง 84 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 87 หยุด 2 วัน ขอให้ยกฟ้องนั้น
เห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องในชั้นสอบสวนของพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้เกินกำหนดไม่ได้ เว้นแต่จะขออำนาจศาลฝากขังเป็นระยะระยะไปและเป็นคนละส่วนกับเรื่องการฟ้องโดยจำเลยให้การรับสารภาพ ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในชั้นพิจารณาของศาล
หากได้ความว่าจำเลยถูกควบคุมตัวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้จริงก็เป็นเรื่องที่จำเลยต้องไปว่ากล่าวเอากับผู้ที่ควบคุมตัวโดยไม่ชอบเหล่านั้น หาทำให้กระบวนการสอบสวนที่ชอบ รายการนำคดีมาฟ้องยังศาลเสียไป
ทั้งหากมีการควบคุมตัวเกินกำหนด ก็ไม่ต้องห้ามที่พนักงานอัยการจะนำตัวผู้ต้องหามาส่งฟ้องศาล โดยวิธีจับตัวมาส่งศาลฟ้องได้ รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้อำนาจศาลที่จะยกฟ้องคดีเช่นนี้ได้ คงมีแต่ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 เท่านั้น
มิฉะนั้นจะเป็นช่องทางให้มีผู้กล่าวอ้างเอาประโยชน์จากการควบคุมตัวเกินกำหนดได้ยิ่งกว่าการสอบสวนที่ชอบ และการพิจารณาที่กระทำโดยศาล ที่จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพโดยไม่ต้องสืบพยานประกอบเช่นนี้ฟังไม่ขึ้น
สรุป การควบคุมตัวไว้เกินกำหนดไม่ทำให้อำนาจพนักงานอัยการเสียไป และศาลไม่จำต้องยกฟ้องในประเด็นนี้
ติดต่อทนายความ 0968247444