Home คดีอาญา ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการวิสามัญฆาตกรรม

ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการวิสามัญฆาตกรรม

10543

บทนํา

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒ นั้นได้บัญญัติ รับรองโดยกําหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และมาตรา ๘๑ (๒) รัฐต้อง ดําเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ให้พ้นจากการล่วงละเมิดทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและโดยบุคคลอื่น และต้องอํานวยความยุติธรรมแก่ ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น ในกรณีที่ความตายของบุคคลซึ่งเกิดจากการกระทําของเจ้าหน้าที่รัฐ อันเป็นการตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน รัฐจึง มีหน้าที่ในการตรวจสอบความตายนั้นโดยการชันสูตรพลิกศพ เพื่อให้ทราบว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย และถ้าตายโดยคนทําร้ายใครเป็นผู้กระทํา อันเป็นการอํานวย ความยุติธรรมให้เกิดขึ้นแก่พลเมืองของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ความตายของบุคคล เกิดขึ้นจากการกระทําของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า “การวิสามัญฆาตกรรม” ด้วยแล้ว ย่อมก่อให้เกิดคําถามขึ้นในสังคมไทยเสมอว่าการวิสามัญฆาตกรรม ดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และผู้ตายได้รับความเป็นธรรมจากรัฐหรือไม่

เพื่อความเข้าใจในบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องของการวิสามัญฆาตกรรมและการชันสูตร พลิกศพ ตลอดจนขั้นตอนและกระบวนการในการตรวจสอบความตายของบุคคลซึ่งเกิดจากการ กระทําของเจ้าหน้าที่รัฐอันเป็นการตายโดยผิดธรรมชาติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๘ หรือการตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งกระบวนการยุติธรรม

ประวัติ

วิสามัญฆาตกรรม (extrajudicial killing) เป็นการที่เจ้าพนักงานฆ่าผู้อื่นตายโดยอ้างว่าเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือฆ่าผู้อื่นตายระหว่างที่เขาอยู่ในความควบคุมของตน โดยอ้างว่าเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมนั้นเป็นฆาตกรรมที่เจ้าพนักงานกระทำโดยปราศจากการอนุมัติตามกระบวนการยุติธรรมหรือตามวิถีทางแห่งกฎหมาย เพราะฉะนั้น โดยสภาพแล้ว จึงเป็นความผิดตามกฎหมาย

คำว่า “วิสามัญฆาตกรรม” ในภาษาไทยนั้น ปรากฏใช้ครั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เมื่อมีการตรา “พระราชบัญญัติชันสูตรพลิกศพ พ.ศ. 2457″ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2457 โดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ว่า”การชันสูตรพลิกศพผู้ถูกฆาตกรรม กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้เป็น 2 ชั้น คือ สามัญ ชั้น 1 วิสามัญ ชั้น 1 ผิดกันดังอธิบายต่อไปนี้ คือ”ข้อ 1 ฆาตกรรมอันเป็นวิสามัญนั้น คือ ผู้ตายตายด้วยเจ้าพนักงานฆ่าตาย ในเวลากระทำการตามหน้าที่ ยกตัวอย่างดังเช่น เจ้าพนักงานไปจับผู้ต้องหาว่าเป็นโจรเป็นผู้ร้าย แลฆ่าผู้ต้องหาว่าเป็นโจรเป็นผู้ร้ายนั้นตายในเวลาจับ ดังนี้เป็นต้น เรียกว่าเป็นเหตุวิสามัญ”ข้อ 2 ฆาตกรรมอันเป็นสามัญนี้ ผู้อื่นแม้เป็นข้าราชการหรือเป็นเจ้าพนักงานกระทำให้ตาย โดยมิได้เกี่ยวแก่กระทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่า เป็นฆาตกรรมอย่างสามัญ”

 ลักษณะของคดีวิสามัญฆาตกรรม

โดยหลักการแล้วไม่มีกฎหมายใดให้อํานาจเจ้าพนักงานฆาตกรรมหรือทําร้ายคนร้ายได้ เพราะบุคคลทุกคนไม่ว่าจะได้กระทําความผิดอาญาร้ายแรงและมีอัตราโทษตามกฎหมายสูงเพียงใด ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม มีสิทธิได้รับการสอบสวนและพิจารณาคดีอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม เจ้าพนักงานไม่มีสิทธิตัดสินความผิดและลงโทษบุคคลเหล่านั้นด้วยตนเอง อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นที่เจ้าพนักงานอาจใช้กําลังกับคนร้ายได้ ๒ กรณีด้วยกันคือ

กรณีที่ (๑) เจ้าพนักงานกระทําไปเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงพอสมควรแก่เหตุ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘” หรือ

กรณีที่ (๒) เจ้าพนักงานได้กระทําไปเพื่อความป้องกันทั้งหลายที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์ แห่งเรื่องในการจับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๓

ทั้งนี้ หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าการฆ่าหรือทําร้ายคนร้ายของเจ้าพนักงานเข้าเงื่อนไขดังกล่าวมา ข้างต้นเจ้าพนักงานจะต้องมีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ซึ่งการพิสูจน์ การกระทําของเจ้าพนักงานที่ฆาตกรรมคนร้ายดังกล่าวนั้นกฎหมายเรียกว่าวิสามัญฆาตกรรม

สําหรับคําว่า “วิสามัญฆาตกรรม” นั้น เป็นถ้อยคําที่นักกฎหมายใช้กันติดปากมาจาก กฎหมายฉบับเก่าซึ่งถูกยกเลิกไปแล้วคือ พระราชบัญญัติชัณสูตรพลิกศพ พ.ศ. ๒๔๕๗ ซึ่งในมาตรา ๗ ข้อ ๑ บัญญัติว่า “ฆาฏกรรมอันเป็นวิสามัญนั้น คือผู้ตาย ๆ ด้วยเจ้าพนักงานฆ่าตาย ในเวลากระทําการตามน้าที่ ยกตัวอย่างดังเช่นเจ้าพนักงานไปจับผู้ต้องหาว่าเป็นโจรเป็นผู้ร้าย แลฆ่าผู้ต้องหาว่าเป็นโจรเป็นผู้ร้ายนั้น

ตายในเวลาจับดังนี้เป็นต้น เรียกว่าเป็นเหตุวิสมัญ” ปัจจุบันไม่ปรากฏคําว่า “วิสามัญฆาตกรรม” ในบทบัญญัติของกฎหมายฉบับใดแล้ว แต่นักกฎหมายก็ยังคงนิยมใช้และเข้าใจตรงกันว่า หมายถึง การพิสูจน์การกระทําของเจ้าพนักงานในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทําของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า ปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการ ตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๐ วรรคสาม

การรับสูตรพลิกศพ การไต่สวนการตายโดยศาล และ การสอบสวนคดีวิสามัญฆาตกรรม

เมื่อคดีวิสามัญฆาตกรรมเป็นคดีที่ความตายของบุคคลเกิดขึ้นจากการกระทําของ เจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จึงถือเป็นกรณีที่มีการตายโดยผิดธรรมชาติ กล่าวคือ เป็นการตาย ที่ถูกผู้อื่น (เจ้าพนักงาน) ทําให้ตาย หรือเป็นการตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งกฎหมายกําหนดให้ต้องมีการชันสูตรพลิกศพเช่นเดียวกับคดีการตายโดยผิดธรรมชาติทั่วไป แต่กฎหมายได้กําหนดให้มีมาตรการในการตรวจสอบการตายเพิ่มขึ้นเพื่อคุ้มครองชีวิตของบุคคล และพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของเจ้าพนักงาน โดยกําหนดให้การชันสูตรพลิกศพต้องกระทําโดย สหวิชาชีพ กําหนดให้มีพนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทําสํานวนชันสูตรพลิกศพ และการสอบสวนคดี และกําหนดให้มีการไต่สวนการตายโดยศาล ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๔ ถึง มาตรา ๑๕๖ สรุปได้ดังนี้

(๑) การชันสูตรพลิกศพ

การชันสูตรพลิกศพ หรือ Autopsy คือการตรวจพิสูจน์ศพเพื่อค้นหาสาเหตุและ พฤติการณ์ที่ทําให้เกิดการตาย ซึ่งกฎหมายกําหนดให้มีขึ้นเมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัย ว่าบุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ ได้แก่ การฆ่าตัวตาย ถูกผู้อื่นทําให้ตาย ถูกสัตว์ทําร้ายตาย ตายโดยอุบัติเหตุ และตายโดยยังมีปรากฏเหตุ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน เว้นแต่เป็นการตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย

สําหรับการชันสูตรพลิกศพในคดีวิสามัญฆาตกรรมนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๓๕๐ วรรคหนึ่ง กําหนดให้ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ แพทย์ทาง นิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือได้รับหนังสืออนุมัติจากแพทยสภา พนักงานอัยการ และพนักงาน ฝ่ายปกครองตําแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอําเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไป ร่วมกันเป็นผู้ทําการชันสูตรพลิกศพ ทั้งนี้ การกําหนดให้การชันสูตรพลิกศพต้องกระทําโดยสหวิชาชีพดังกล่าวเป็นมาตรการเพื่อป้องกัน มีให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตํารวจเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานผู้ก่อเหตุวิสามัญฆาตกรรม บิดเบือนข้อเท็จจริงในการตรวจชันสูตรพลิกศพได้

เมื่อทําการชันสูตรพลิกศพเสร็จแล้ว พนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนพยานหลักฐาน ทําเป็นสํานวนชันสูตรพลิกศพขึ้น โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๕๐ วรรคสี่ กําหนดให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนทําสํานวนขันสูตร พลิกศพให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้ามีความจําเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไป ได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจําเป็นในการขยายระยะเวลา ทุกครั้งไว้ในสํานวนชันสูตรพลิกศพ

(๒) การไต่สวนการตายโดยศาล

ภายหลังจากที่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการทําสํานวนชันสูตรพลิกศพแล้วเสร็จ พนักงานอัยการจะต้องดําเนินการขอให้ศาลไต่สวนการตายเพื่อให้ศาลตรวจสอบการกระทําของ เจ้าพนักงาน ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๓๕๐ วรรคห้า กําหนดให้พนักงานอัยการ ต้องทําคําร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทําการไต่สวนและทําคําสั่งแสดง ว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ถ้าตายโดยคนทําร้ายให้กล่าวว่าใครเป็น ผู้กระทําเท่าที่จะทราบได้ ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับสํานวน ถ้ามีความจําเป็นให้ขยายระยะเวลา ออกไปได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจําเป็นในการขยาย ระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสํานวนชันสูตรพลิกศพ

ตอนการไต่สวนดังกล่าวศาลจะปิดประกาศแจ้งกําหนดวันที่จะทําการไต่สวนไว้ที่ศาล และเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะต้องยื่นคําร้องต่อศาลขอให้ศาลส่งสําเนาคําร้องและแจ้ง กําหนดวันนัดไต่สวนให้สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือญาติของผู้ตายตามลําดับอย่างน้อย 5 คน เท่าที่จะทําได้ทราบก่อนวันนัดไต่สวนไม่น้อยกว่า ต๕ วัน และก่อนการไต่สวนเสร็จสิ้นบุคคลดังกล่าวนั้นมีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลขอเข้ามาซักถาม พยานที่พนักงานอัยการนําสืบ และนําสืบพยานหลักฐานอื่นได้ด้วย เพื่อการนี้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ

แต่งตั้งทนายความดําเนินการแทนได้ หากไม่มีทนายความเข้ามาในคดีก็ให้ศาลตั้งทนายความขึ้น เพื่อทําหน้าที่ทนายความฝ่ายญาติผู้ตาย ทั้งนี้ การซักถามพยานที่พนักงานอัยการนําสืบ และ นําสืบพยานหลักฐานอื่นของญาติผู้ตายนั้น เป็นการกระทําเพื่อแสดงให้เห็นความผิดอาญาของ เจ้าพนักงาน และส่งผลให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาราชการแทนมีคําสั่งฟ้องเจ้าพนักงานนั้น เช่น ชี้ให้เห็น ว่าไม่ใช่การตายในการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือการกระทําของเจ้าพนักงานไม่ใช่การป้องกันตัว หรือเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุ เป็นต้น

ในการรับฟังข้อเท็จจริงจากการสืบพยานนั้น หากข้อเท็จจริงที่ได้ไม่ชัดเจนหรือ ไม่ครบถ้วน ศาลจะเรียกพยานที่นําสืบมาแล้วมาสืบเพิ่มเติมหรือเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบก็ได้ และศาลอาจขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นเพื่อประกอบการไต่สวนและทําคําสั่งก็ได้ คําสั่งของศาลนี้ย่อมถึงที่สุด จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิฟ้องร้องและ การพิจารณาพิพากษาคดีของศาล หากพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นได้ฟ้องหรือจะฟ้องคดีเกี่ยวกับการตายนั้น และเมื่อศาลได้มีคําสั่งแล้วจะส่งสํานวนการไต่สวนของศาลไปยังพนักงานอัยการเพื่อส่งแก่พนักงาน สอบสวนดําเนินการต่อไป

อนึ่ง การไต่สวนการตายกรณีนี้เป็นกระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน ในเบื้องต้นเพื่อให้ทราบว่า ผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน สาเหตุที่ตายคืออะไร และถ้าตายโดยคนทําร้าย ใครเป็นผู้กระทํา และความตายดังกล่าวเป็นผลแห่งการกระทําผิดอาญาหรือไม่

หากศาลไต่สวนการตายแล้วไม่พบว่าเป็นผลจากการกระทําผิดอาญา เช่น คนร้าย ฆ่าตัวตายในระหว่างอยู่ในความควบคุม ศาลจะส่งสํานวนการไต่สวนของศาลไปยังพนักงานอัยการเพื่อ ส่งแก่พนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนจะส่งสํานวนชันสูตรพลิกศพต่อไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อพิจารณา และคดีย่อมยุติลง

แต่หากศาลไต่สวนการตายแล้วพบว่าเป็นผลจากการกระทําผิดอาญา คือ เกิดจาก การกระทําของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ เช่น เจ้าพนักงานผู้จับใช้ปืนยิงคนร้าย

ศาลจะส่งสํานวนการไต่สวนของศาลไปยังพนักงานอัยการเพื่อส่งแก่พนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงาน สอบสวนจะส่งสํานวนการไต่สวนของศาสพร้อมสํานวนชันสูตรพลิกศพไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของสํานวน คดีวิสามัญฆาตกรรม เพื่อให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่รับผิดชอบคดีวิสามัญฆาตกรรมด้าเนินการ สอบสวนต่อไปตามขั้นตอน และเมื่อสอบสวนเสร็จแล้วก็จะส่งสํานวนให้พนักงานอัยการพร้อมความเห็น ควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง กรณีนี้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาราชการแทนเท่านั้นที่จะมีอํานาจออกคําสั่งฟ้อง หรือไม่ฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๔๓ วรรคท้าย

(๓) การสอบสวนคดีวิสามัญฆาตกรรม

ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นว่าการไต่สวนการตายโตยศาสนั้นเป็นเพียงกระบวนการพิสูจน์ ข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ใช่การดําเนินคดีอาญาโดยตรงสําหรับความผิดของ เจ้าพนักงานผู้ก่อให้เกิดความตายหรือความผิดที่ผู้ตายได้กระทําลง ดังนั้น ภายหลังการไต่สวนการตาย จึงต้องมีการดําเนินคดีต่อไปตามกฎหมายโดยพนักงานสอบสวนและศาลที่มีเขตอํานาจ” ซึ่งการสอบสวน ในกรณีนี้กฎหมายกําหนดให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทําสํานวนสอบสวนด้วย โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒๕๕/๒ กําหนดให้การสอบสวนในกรณีที่มี ความตายเกิดขึ้นโดยการกระทําของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่าง อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือในกรณีที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่า ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการ เข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทําสํานวนสอบสวน การสอบสวนดังกล่าวให้พนักงานสอบสวน เป็นผู้รับผิดชอบโดยพนักงานอัยการอาจให้ค้าแนะนํา ตรวจสอบพยานหลักฐาน ถามปากค้า หรือสั่งให้ ถามปากคําบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ตั้งแต่เริ่มการทําสํานวนสอบสวนนับแต่โอกาสแรกเท่าที่จะพึงกระทําได้ แต่ในกรณีจําเป็นเร่งด่วนและมีเหตุอันควรไม่อาจรอพนักงานอัยการเข้าร่วมในการทําสํานวนสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนทําสํานวนต่อไปได้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอพนักงานอัยการไว้ในสํานวนและ ถือว่าเป็นการทําสํานวนสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย

ข้อควรพิจารณาที่สําคัญ

การชันสูตรพลิกศพ การไต่สวนการตาย และการสอบสวนดังกล่าวมานั้นเป็นกระบวนการ ที่กฎหมายกําหนดขึ้นเพื่อพิสูจน์การกระทําของเจ้าพนักงานในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการ กระทําของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของ เจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ และเมื่อพิจารณากระบวนการดังกล่าวแล้วเห็นว่ามี ประเด็นข้อกฎหมายที่สําคัญและสมควรได้รับการพิจารณา ดังนี้

(๑) ประเภทคดีที่จะต้องมีการชันสูตรพลิกศพและไต่สวนการตาย คดีที่ความตาย ของบุคคลเกิดการกระทําของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ใน ความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๓๕๐ วรรคสาม ซึ่งจะต้องมีการชันสูตรพลิกศพและไต่สวนการตายนั้น หมายถึง คดีที่ความตายของบุคคลเกิดขึ้นจากการกระทําโดยเจตนาของเจ้าพนักงาน เป็นการกระทําของ เจ้าพนักงานโดยตรงเท่านั้นไม่รวมถึงการกระทําของบุคคลอื่น และต้องเป็นการกระทําของเจ้าพนักงาน ในขณะปฏิบัติการตามหน้าที่

คดีที่ความตายของบุคคลเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่นั้น หมายความรวมถึงความตายที่เกิดขึ้นในระหว่างถูกควบคุม ทั้งในชั้นสอบสวน ในชั้นพิจารณาคดี และต้องโทษตามคําพิพากษา และไม่ว่าสาเหตุการตายจะเกิด จากการฆ่าตัวตาย เจ็บป่วยตาย หรือถูกผู้อื่นทําให้ตาย เพราะเมื่อเป็นความตายที่เกิดขึ้นระหว่าง อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานแล้วก็สมควรจะต้องมีการชันสูตรพลิกศพและไต่สวนโดยศาลเพื่อ ความเป็นธรรมของทุกฝ่าย

(๒) การชันสูตรพลิกศพและไต่สวนการตาย การชันสูตรพลิกศพนั้นเป็นส่วนหนึ่ง ของการสอบสวน และถ้าการชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ กฎหมายห้ามไม่ให้มีการฟ้องผู้ต้องหายังศาล” อย่างไรก็ดี กรณีดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีที่ไม่มีการชันสูตรพลิกศพเลย หรือมีการชันสูตรพลิกศพแต่ ไม่สมบูรณ์ เช่น ผู้ที่ลงนามเป็นแพทย์ในใบชันสูตรพลิกศพเป็นเพียงสัปเหร่อ หรือโตยสภาพไม่อาจมี การชันสูตรพลิกศพได้ เช่น ศพถูกเผาไปแล้ว ซึ่งมีแนวคําพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พนักงานอัยการมี อํานาจฟ้องจําเลยต่อศาลได้เพราะกฎหมายห้ามฟ้องเฉพาะการชันสูตรพลิกศพไม่เสร็จ แต่ไม่ห้ามฟ้อง

กรณีไม่มีการชันสูตรพลิกศพเลย กฎหมายห้ามพนักงานอัยการฟ้องคดีที่ไม่มีการสอบสวนก่อน แต่ไม่ได้ ห้ามกรณีไม่มีการชันสูตรพลิกศพก่อน ทั้งนี้ จะให้มีการชันสูตรพลิกศพทุกรายย่อมเป็นไปไม่ได้ และกฎหมายกําหนดให้มีการชันสูตรพลิกศพในคดีวิสามัญฆาตกรรม แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ฟ้อง ผู้ต้องหาถ้าไม่มีการชันสูตรพลิกศพนั้น

การไต่สวนการตายและมีคําสั่งในศตวิสามัญฆาตกรรมโดยศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ ศพอยู่นั้น ปัจจุบันมีแนวทางซึ่งศาลถือปฏิบัติและตรงกับความเห็นของนักกฎหมายส่วนใหญ่ เห็นว่า ศาลชั้นต้นดังกล่าวหมายถึงเฉพาะศาลอาญาและศาลจังหวัดเท่านั้น ไม่รวมถึงศาลแขวง ศาลแขวง ไม่มีเขตอํานาจในการไต่สวนการตายและมีคําสั่งได้

(๓) บทบาทของพนักงานอัยการ การที่กฎหมายกําหนดให้พนักงานอัยการเข้าไปมี บทบาทในการขันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวน แพทย์ และพนักงานฝ่ายปกครอง เข้าไปมี บทบาทในการทําสํานวนขันสูตรพลิกศพและไต่สวนการตาย และมีบทบาทในการทําสํานวนสอบสวนนั้น มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นกับ ประชาชนว่าพนักงานอัยการซึ่งเป็นคนกลางจะเข้าตรวจสอบความจริงด้วยความเที่ยงธรรม รอบคอบ และ โปร่งใส อย่างไรก็ตาม การดําเนินการดังกล่าวคงไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ถ้าไม่มีองค์ความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ในทางนิติเวชศาสตร์ ความพร้อมในด้านจํานวนบุคลากรของพนักงานอัยการมาประกอบ

 บทสรุป

“คดีวิสามัญฆาตกรรม” นั้นเปรียบเสมือนเหรียญซึ่งจะต้องพิจารณาทั้งสองด้าน ด้านแรก คือ สิทธิในชีวิตของบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ และรัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองพลเมืองของรัฐ ให้พ้นจากการถูกล่วงละเมิตโดยเจ้าหน้าที่และควบคุมการใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ให้อยู่ภายใต้ บทบัญญัติแห่งกฎหมายด้านที่สอง คือ หน้าที่ของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมายไม่กระทํา การใดอันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น และรัฐมีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย ในสังคม ควบคุมอาชญากรรมและอํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชน และคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ ได้รับความปลอดภัย ดังนั้น ในกรณีที่มีเหตุวิสามัญฆาตกรรมเกิดขึ้นสังคมไทยจึงต้องทําการพิจารณา อย่างรอบคอบ ไม่ควรต่วนตัดสินว่าเจ้าหน้าที่ตั้งใจจับตายและผู้ตายตายโดยไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือตัดสินว่าผู้ตายเป็นคนชั่วร้าย เป็นภัยสังคม สมควรแล้วที่จะถูกจับตายจะได้ไม่มีใครเดือดร้อนอย่างนี้ เป็นต้น แต่จะต้องรอกระบวนการพิสูจน์การกระทําตามกฎหมายเสียก่อนว่าคดีวิสามัญฆาตกรรมนั้น เกิดจากการกระทําของเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่ เจ้าหน้าที่กระทําไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และผู้ตายได้ กระทําความผิดจริงหรือไม่ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ความยุติธรรมทางอาญาเกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทยต่อไป

 

Facebook Comments