ตามที่ทางทีมงานทนายกฤษดา เคยเขียนบทความ อธิบายเกี่ยวกับการเล่นแชร์ ซึ่งอธิบายไว้โดยละเอียดใน
+ความหมายของการเล่นแชร์
การเล่นแชร์ คือ สัญญาชนิดหนึ่ง มีคู่ความ 2 ฝ่าย คือ นายวงแชร์ ฝ่ายหนึ่ง กับลูกวงแชร์ อีกฝ่ายหนึ่ง ปกตินายวงแชร์จะเป็นบุคคลเดียว ส่วนลูกวงแชร์จะมีหลายคน
+รวมบทความเกี่ยวกับการเล่นแชร์
เปิดคำพิพากษาศาลฎีกาวิเคราะห์ แชร์ล้มผิดฉ้อโกงหรือไม่
ท้าวแชร์ ตั้งแชร์เกิน 3 วง มีโทษจำคุกหรือไม่
+ประเภทของการเล่นแชร์
ในการเล่นจะกำหนดจำนวนเงินแต่ละงวดและวิธีการประมูลซึ่งวิธีการประมูลมี 2 ประเภท คือ
ประมูลหักดอกเบี้ย เช่น จำนวนเงินแชร์ 10,000 บาท หากลูกวงแชร์ผู้ประมูลให้ผลประโยชน์ 1,500 บาท เป็นดอกเบี้ยซึ่งสูงกว่าลูกวงแชร์อื่น ก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล ลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ก็ต้องรับเงินงวดนั้น 8,500 บาท
แต่ถ้าเป็นแชร์ชนิดดอกตาม ลูกวงแชร์ที่ประมูลไม่ได้ก็ต้องชำระเต็ม 10,000 บาท แต่จะได้รับคืนจากผู้ประมูลได้ในภายหลัง
+สิทธิพิเศษของเท้าหรือนายวงแชร์
ปกตินายวงแชร์ได้สิทธิพิเศษ คือได้รับเงินเต็มในเดือนแรก ตามตัวอย่างข้างต้นหากมีผู้เล่น 20 คน ผู้เข้าเล่นหรือลูกวงแชร์จะต้องชำระเงินคนละ 10,000 บาท ให้แก่นายวงแชร์ โดยนายวงแชร์ไม่ต้องเสียดอกแต่มีหน้าที่ที่จะใช้คืนลูกวงแชร์ทุกงวดๆ ละ 10,000 บาท และมีหน้าที่จัดการประมูลและรวบรวมเงินจากลูกวงแชร์ที่ประมูลไม่ได้ มอบให้แก่ผู้ที่ประมูลได้
มีข้อพิจารณาว่าหากผิดสัญญาเล่นแชร์ดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องฟ้องคดีภายในกี่ปี เนื่องจากสัญญาเล่นแชร์ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายไว้โดยเฉพาะ จึงต้องปรับข้อเท็จจริงในข้อสัญญาเข้ากับบทบัญญัติเรื่องอายุความ
รายละเอียดลึกผู้เขียนขออนุญาตให้อ่านในบทความเดิม ส่วนในประเด็นคำถามว่าข้าราชกา่รเล่นแชร์ได้หรือไม่ หากเล่นผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ทีมงานทนายกฤษดา ทางทีมงานได้ค้นคว้าข้อกฎหมาย และสอบถามไปยังสำนักงาน ก.พ.
พบว่าประวัติความเป็นมาแต่เดิม มีหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับข้าราชการเล่นแชร์
ทำให้คณะรัฐมนตรีมีคำสั่งห้ามไม่ให้ข้าราชการเล่นแชร์
ต่อมามีการออก พรบ.แชร์2534 ทำให้เห็นว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่รองรับ และมีการประชุมคณะรัฐมนตรียกเลิกมติดังหล่าว
เรื่อง การยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามข้าราชการและพนักงานขององค์การรัฐบาลเล่นการลงแชร์
เรียน กระทรวง กรม จังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาและจังหวัดเทียบเคียง
สิ่งที่ส่งมาด้วย สําเนาหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ น.ว. ๑๒/๒๕๕๘
ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔
เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (๕ มกราคม ๒๕๕๘) เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เกี่ยวกับการห้ามข้าราชการและพนักงานขององค์การรัฐบาลเล่นการลงแชร์ โดยให้ปฏิบัติดังนี้ สําหรับ ผู้ที่ยังไม่ได้เล่นร่วมนั้นควรห้ามทันที ส่วนผู้ที่เล่นร่วมอยู่แล้วให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้มาจดทะเบียน และแจ้งกําหนดเวลาที่จะเสร็จสิ้นการเล่นร่วมของวงหนึ่ง ๆ ไว้ เมื่อถึงกําหนดที่รับจดทะเบียนไว้ ก็ให้ยุติโดยเด็ดขาด ความละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วยนี้
สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตรวจสอบ มติคณะรัฐมนตรีที่สมควรปรับปรุงหรือยกเลิก ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่า มติคณะรัฐมนตรี ดังกล่าวไม่สามารถใช้บังคับได้กับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ประกอบกับในปัจจุบันการเล่นแชร์ ไม่ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้การรับรองไว้ว่าเป็นสัญญา ที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สามารถใช้บังคับคดีได้โดยถูกต้อง ตามกฎหมาย และสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งว่า มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวไม่เกิดผล ในทางปฏิบัติ
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ การเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๔ ซึ่งกําหนดให้การเล่นแชร์ของ ประชาชนทั่วไปที่มิได้ดําเนินการเป็นธุรกิจสามารถกระทําได้ ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีสาระสําคัญคือ กําหนดให้ บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์ได้ไม่เกิน ๓ วง มีจํานวนสมาชิกวงแชร์รวมกันไม่เกิน ๓๐ คน และมีวงเงินรวมกันไม่เกินที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง (๓00,000 บาท) ดังนั้น จึงเห็นสมควร ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง ห้ามข้าราชการและพนักงานขององค์การรัฐบาลเล่นการลงแชร์ เนื่องจากไม่มีผลในทางปฏิบัติและเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยกับความเห็นของส่วนราชการ ดังกล่าว จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๕ มกราคม ๒๔๙๘ เรื่อง ห้ามข้าราชการและพนักงานขององค์การรัฐบาลเล่นการลงแชร์
คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๗ (ฝ่ายกฎหมาย และระบบราชการ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานกรรมการ ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวในคราวประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๔๖ วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ แล้ว มีประเด็นอภิปรายและมติ ดังนี้
๑. ประเด็นอภิปราย
๑.๑ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (๕ มกราคม ๒๔๙๔) เห็นชอบเกี่ยวกับ การห้ามข้าราชการและพนักงานขององค์การรัฐบาลเล่นการลงแชร์ เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มี กฎหมายควบคุมการเล่นแชร์โดยเฉพาะ และเห็นว่าจะทําให้เกิดผลกระทบกับการปฏิบัติงาน เช่น เกิดการแตกความสามัคคี เป็นต้น ต่อมาในสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ กําหนด ให้การเล่นแซร์ของประชาชนทั่วไปที่มิได้ดําเนินการเป็นธุรกิจสามารถกระทําได้ตามที่กฎหมาย กําหนด ทําให้ไม่มีความจําเป็นต้องควบคุมหรือห้ามการเล่นแชร์ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว อีกต่อไป ประกอบกับปัจจุบันการเล่นแชร์ไม่ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เป็นสัญญาตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สามารถใช้บังคับได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย
๑.๒ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่ในการประมวลมติคณะรัฐมนตรี พิจารณาเห็นว่ามีมติคณะรัฐมนตรีที่ล้าสมัย ซึ่งควรได้รับการทบทวน ปรับปรุง แก้ไขหรือยกเลิกเสีย จึงได้แจ้งให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่สมควรจะดําเนินการดังกล่าว โดยมีส่วนราชการหลายแห่งเสนอขอทบทวนปรับปรุงให้มีการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี (๕ มกราคม ๒๔๙๔) เกี่ยวกับการห้ามข้าราชการและพนักงานขององค์การรัฐบาลเล่นการลงแชร์โดยเห็นว่า มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวสมควรดําเนินการยกเลิกได้ เนื่องจากมีพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ ใช้บังคับโดยถูกต้องแล้ว การยกเลิกจึงน่าจะมีความเหมาะสม เนื่องจากไม่มีผล ทางปฏิบัติและไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ซึ่งเป็นบทสรุปว่า
ทีมงานทนายกฤษดา ขอสรุปจากความเข้าใจว่า หากหมกหมุ่นหรือเอาใจใส่โดยละทิ้งการงาน อาจผิดวินัยได้แต่ไม่ผิดวินัยร้ายแรงครับ
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th