คําถาม โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีโจทก์มีมูลในความผิดฐานยักยอก ได้หรือไม่ .
คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คําพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๒๔๖/๒๕๕๕
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ศาลชั้นต้น ไต่สวนมูลฟ้องแล้ว ฟังว่าจําเลยเอาทรัพย์สินของโจทก์ขณะที่อยู่ในความครอบครองของตนไป โดยทุจริตจึงมีมูลความผิดฐานยักยอก แม้เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้อง แต่ข้อแตกต่างระหว่าง การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์กับฐานยักยอกทรัพย์นั้นเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑ดย วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา ๔ มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือ เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีโจทก์มีมูลในความผิดฐานยักยอก จึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทราบเรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทําความผิดแล้วฟ้องคดี เกินกว่าสามเดือน ความผิดฐานยักยอกจึงขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์รู้ถึงการกระทํา ความผิดและตัวผู้กระทําความผิดในวันที่ศาลมีคําสั่งแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์ เมื่อผู้แทน เฉพาะคดียื่นฟ้องจําเลยในวันดังกล่าว คดีจึงไม่ขาดอายุความ ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์จําต้องย้อนไปวินิจฉัยว่า โจทก์รู้ถึงการกระทําความผิดและรู้ตัวผู้กระทําความผิดเมื่อใด จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนําไปสู่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้าง เมื่อคดีของโจทก์ต้องห้าม อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา ๒๒ ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ในความผิดฐานยักยอกจึงเป็นการไม่ชอบ
สรุป แม้เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้อง แต่ข้อแตกต่างระหว่าง การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์กับฐานยักยอกทรัพย์นั้นเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑ดย วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา ๔ มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือ เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีโจทก์มีมูลในความผิดฐานยักยอก
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th