Home คดีอาญา จำหน่ายยาเสพติด #รวมถึงการ “ จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้” มีโทษอย่างไรบ้าง

จำหน่ายยาเสพติด #รวมถึงการ “ จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้” มีโทษอย่างไรบ้าง

2838

จำหน่ายยาเสพติด#รวมถึงการ “ จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้” มีโทษอย่างไรบ้าง

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
มาตรา 4 บทนิยามนั้น คำว่าจำหน่าย หมายความว่า “ ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ ” ด้วย
อัตราโทษฐาน จำหน่าย หรือ ครอบครองเพื่อจำหน่าย เสพติดประเภทที่ 1

• คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 3 กรัม จำคุก 4-15 ปี หรือปรับ 80,000-300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 3 กรัม- 20 กรัม จำคุก 4 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 400,000-5,000,000 บาท
• คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000-5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต

อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2553
#ศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 6, 7, 8, 15, 66, 67, 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33 ริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) จำคุก 4 ปี คำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนกับทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุก 2 ปี 8 เดือนริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง

#ศาลชั้นอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 67 (ที่แก้ไขใหม่) ลงโทษจำคุก 1 ปี และปรับ 12,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน ปรับ 8,000 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นสมควรให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 3 ปี กับให้คุมประพฤติจำเลยโดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 เดือนต่อครั้ง พร้อมตรวจหาสารเสพติดภายในกำหนดเวลาที่รอการลงโทษจำคุกไว้ และห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษทุกชนิด ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

#ศาลชั้นฎีกา โจทก์ฎีกา
#ประเด็นที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้องโจทก์หรือไม่
เห็นว่า การที่จำเลยนำเงินที่ลูกเรือประมงมอบให้ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนแล้วนำมาเสพด้วยกัน #แม้ว่าลูกเรือประมงต่างคนต่างหยิบเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยวางไว้ตรงหน้าไปเสพเอง #ก็ถือว่าเป็นการที่จำเลยกระทำให้ยาเสพติดให้โทษแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นโดย ” วิธีจ่าย แจก แลกเปลี่ยน ”
อันเป็นการจำหน่ายตามบทนิยามของคำว่า จำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 แล้ว ซึ่งจำเลยจะต้องมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนด้วย แต่โจทก์ฟ้องเฉพาะในส่วนของเมทแอมเฟตามีนส่วนที่เหลือ การมีเมทแอมเฟตามีนส่วนที่เหลือ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้องโจทก ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

#หมายเหตุ ยาเสพติดประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น แมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) เฮโรอีน เอ็มดีเอ็มเอ (ยาอี) ฯลฯ ยาเสพติดให้โทษ ซึ่งประเภทนี้ไม่ใช่ประโยชน์ทางการแพทย์ ห้ามซื้อขาย หรือมีไว้ในครอบครองเด็ดขาด

By ทนายอธิป ชุมจินดา , Preaw Preaw

Facebook Comments