Home คดีครอบครัว บุตรบุญธรรมรับมรดกแทนที่ได้หรือไม่ (มีฎีกา)

บุตรบุญธรรมรับมรดกแทนที่ได้หรือไม่ (มีฎีกา)

9942

 

บุตรของบุตรบุญธรรมรับมรดกแทนที่ได้หรือไม่

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๙๐/๒๕๔๔ บุตรบุญธรรมนั้นตามมาตรา ๑๖๒๗ ให้ ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นทายาทลําดับ ๑ ตามความ ในมาตรา ๑๖๒๙ เมื่อบุตรบุญธรรมตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรของบุตรบุญธรรม ย่อมรับมรดกแทนที่กันได้ ตามมาตรา ๑๖๓๙

ข้อที่น่าสังเกตต่อไปมีว่า เรื่องบุตรบุญธรรมรับมรดกแทนที่กัน ต้องพิจารณาให้ แน่ใจว่าบุตรบุญธรรมรับมรดกแทนที่ในฐานะบุตรบุญธรรม หรือ ในฐานะทายาทโดยธรรม ของเจ้ามรดก จะนําสองฐานะนั้นมารวมกันเพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

ตัวอย่าง
ปู่รับเอาหลาน (บุตรของบุตร) มาเป็นบุตรบุญธรรม แม้ในฐานะญาติหลานจะเป็น ผู้สืบสันดานโดยตรงของปู่ และในฐานะบุตรบุญธรรม หลานจะเป็นเหมือนบุตรชอบด้วย กฎหมาย ก็จะเอาฐานะทั้งสองมารวมกันเพื่อให้หลานนั้นกลายมาเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง ชั้นบุตรไม่ได้ คงเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงชั้นหลานเท่านั้น
กรณีบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ตามมาตรา ๑๖๒๗ บุตรนอกกฎหมาย ย่อมเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงมีสิทธิที่จะรับมรดกแทนที่บิดาตามมาตรา ๑๖๓๙ และ ๑๖๔๓ ด้วย (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๒/๒๕๑๐, ๔๓๖/๒๕๑๔, ๒๑๐๗/๒๕๒๗)
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๘๑/๒๕๓๔ ม. และ โจทก์ที่ ๑ ได้แสดงความเกี่ยวข้อง ฉันบิดากับบุตรโดยให้ความอุปการะเลี้ยงดูให้ใช้นามสกุลเดียวกัน เป็นพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไป ตลอดมาว่าโจทก์ที่ ๑ เป็นบุตร โจทก์ที่ ๑ จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่า เป็น ผู้สืบสันดาน เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของ ม. แต่เมื่อ ม. ซึ่งเป็นบุตรของ เจ้ามรดกตายไปก่อนเจ้ามรดก โจทก์ที่ ๑ จึงมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ ม. ได้
เหตุที่กฎหมายบัญญัติห้ามทายาทโดยธรรมคือบิดามารดาตามมาตรา ๑๖๒๙ (๒) และปู่ ย่า ตา ยาย ตามมาตรา ๑๖๒๙ (๕) มิให้เป็นผู้ซึ่งจะถูกรับมรดกแทนที่กันแยก พิจารณาดังนี้
(ก) ตามมาตรา ๑๖๒๙ (๒) คือ บิดามารดา จะเห็นว่าผู้สืบสันดานของบิดา มารดาก็ต้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ลําดับ (๓) หรือมิฉะนั้น ก็เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นทายาท โดยธรรมของเจ้ามรดกลําดับ (๔) อยู่แล้ว หากให้มีการรับมรดกแทนที่กันก็จะทําให้สิทธิใน การรับมรดกแทนที่มาตัดหน้าสิทธิในการรับมรดกของตนเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดการซ้ําซ้อนใน เรื่องสิทธิของทายาทลําดับถัดลงไป
(ข) ผู้สืบสันดานของปู่ ย่า ก็คือบิดากับลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก และ ผู้สืบ สันดานของตายายก็คือมารดากับลุง ป้า น้า ของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ เจ้ามรดกลําดับ (๒) (5) อยู่แล้ว ก็จะเกิดซ้ําซ้อนอีกเช่นกัน สําหรับผู้สืบสันดานของคู่สมรส ถ้าเกิดระหว่างสมรสกับเจ้ามรดกก็เป็นบุตรของเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทโดยธรรมลําดับ (๑) อยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นผู้สืบสันดานของคู่สมรสที่เกิดกับบุคคลอื่นซึ่งเรียกกันว่าลูกติดแม่ หรือลูก

ติดพ่อก็ไม่ใช่ผู้สืบสันดานของเจ้ามรดกไม่มีสิทธิรับมรดกเลย
(๓) บุคคลซึ่งจะเป็นทายาทจะต้องเสียสิทธิในการรับมรดกเพราะตาย (ตาย โดยธรรมชาติหรือสาบสูญ) หรือ ถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้น (มาตรา ๑๖๓๙) เรื่องถูกกําจัดมิให้รับมรดกจะกล่าวโดยละเอียดในภายหลัง
(๔) ผู้รับมรดกแทนที่ต้องมีสิทธิรับมรดกและมีสิทธิสมบูรณ์ในการรับมรดกมาตรา ๑๖๔๔ บัญญัติว่า “ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิสมบูรณ์ ในการรับมรดก”

หลักเกณฑ์ตามมาตรานี้ สรุปได้ดังนี้

๑. ต้องมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา ๑๕ (มาตรา ๑๖๐๔ วรรคหนึ่ง)
๒. ต้องไม่เป็นผู้ที่เสียสิทธิการรับมรดก เช่น ถูกกําจัดมิให้รับมรดก หรือถูกตัด มิให้รับมรดกหรือต้องไม่ใช่ผู้ที่สละมรดก เป็นต้น
ข้อสังเกต
ก. บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายรับรองทารกในครรภ์มารดาได้ด้วย (คําพิพากษา ศาลฎีกาที่ ๓๔๑/๒๕๐๒, ๕๕๙/๒๕๐๖)
ข. ตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ ๕ ที่ได้ตรวจชําระใหม่ พุทธศักราช ๒๕๑๙ ใช้บังคับแล้ว มาตรา ๑๕๔๘ บัญญัติว่า “การฟ้องคดี ขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตาย ที่ได้ฟ้องภายในกําหนดอายุความมรดก ถ้าศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ผู้ตาย เด็กนั้นมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
ในกรณีที่ได้มีการแบ่งมรดกไปแล้ว ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย ลาภมิควรได้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
แสดงว่า แม้ทายาทจะได้สิทธิจากการที่ศาลพิพากษาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรภายหลัง ที่เจ้ามรดกตายก็อาจรับมรดกได้ หากได้ฟ้องภายในอายุความ
คําพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับมาตรา ๑๖๓๙
คําพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๘/๒๕๖๐ ท. มารดาจําเลยถูกตัดไม่ให้รับมรดก ตั้งแต่ ก่อน ท. ตาย ท. จึงไม่ได้เป็นทายาทตามความในมาตรา ๑๖๒๙ อีกต่อไป ท. จึงไม่มีที่ (ความเป็นทายาท) ที่จําเลยจะเข้ารับมรดกแทนได้และไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติ

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี

Facebook Comments