คำพิพากษาฎีกาที่ 2772 / 2560

📍ข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ แต่ไม่ตกเป็นโมฆะ

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ 2522 มาตรา 35 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า ในการประกอบธุรกิจที่ควบคุมสัญญา สัญญาที่ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ ( 1 )ใช้ข้อสัญญาที่จำเป็นซึ่งหากมิได้ใช้ข้อสัญญาเช่นนั้นจะทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบผู้ประกอบธุรกิจเกินสมควร ( 2 ) ห้ามใช้ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และรายละเอียดที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนด และเพื่อของผู้บริโภคเป็นส่วนรวม คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาจะให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทำสัญญาตามที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนดได้ ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2543 ซึ่งออกโดยมาตรา 35 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ 2522

ข้อ 4 ระบุว่า ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเชื่อซื้อให้ครบถ้วนตามสัญญา ในกรณีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อ “ สูญหาย ถูกทำลาย ถูกยึด ถูกอายัด หรือถูกริบ “ โดยมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ เว้นแต่ค่าเสียหาย หรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถยนต์หรือจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อ ค่าทนายความ หรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร

เมื่อพิจารณาสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ….. ข้อ 24 กำหนดว่าไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม หากปรากฏว่ารถที่เช่าซื้อสูญหาย บุบสลาย หรือใช้การไม่ได้ โดยผู้เช่าซื้อไม่ได้ประกันวินาศภัยไว้ ตามข้อ 23 ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบต่อความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ที่เช่าซื้อ แต่ฝ่ายเดียวสิ้นเชียงจะหยิบยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าของไม่ได้ เห็นได้ว่าข้อสัญญาดังกล่าวกำหนดบังคับให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของทรัพย์เด็ดขาดทุกกรณี โดยไม่ได้แบ่งความรับผิดกรณีเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ และกรณีไม่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อไว้ต่างหาก จึงเป็นข้อสัญญาที่ทำให้ผู้เช่าซื้อเสียเปรียบผู้ให้เช่าซื้อเกินสมควร และเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้เช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนตามสัญญา ในกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายโดยมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 ข้อ 4 ( 4 ) ข้อสัญญาดังกล่าวจึงขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 35 ทวิ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ตกเป็นโมฆะ แต่ให้ถือว่าไม่มีข้อสัญญาเช่นว่านั้น กรณีจึงถือว่าไม่มีสัญญาข้อ 24

เมื่อปรากฎว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2551 สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567 และเมื่อไม่มีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายในกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย จึงต้องพิจารณาต่อไปว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 หรือไม่ ได้ความว่า จำเลยที่ 1 จอดรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ที่บริเวณข้างบ้านแล้วถูกคนร้ายลักไป และจำเลยที่ 1 ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจทันทีโดยได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหมายเลข
ล…….

กรณีถือได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปมิใช่เป็นความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์

📌รถยนต์สูญหาย ( จอดไว้แล้วหาย ) โดยมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ + ไม่มีประกันคุ้มครอง ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อ กรณีนี้ไม่รวมถึงการนำรถไปให้เช่า จำนำ ให้ยืมแล้วสูญหาย…!!!

ติดต่อทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายพีท 089-595-5014
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments