Home คดีแพ่ง ผู้เช่าซื้อหรือผู้กู้เสียชีวิต ทายาทจะผ่อนชำระค่างวดต่อได้หรือไม่ กรณีสัญญาเช่าซื้อรถยนต์/สัญญากู้ยืม + ไม่มีประกันชีวิต

ผู้เช่าซื้อหรือผู้กู้เสียชีวิต ทายาทจะผ่อนชำระค่างวดต่อได้หรือไม่ กรณีสัญญาเช่าซื้อรถยนต์/สัญญากู้ยืม + ไม่มีประกันชีวิต

3443

คำพิพากษาฎีกาที่ 3994/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสามเป็นบทบัญญัติมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงแก่ความตายของลูกหนี้ ในกรณีดังกล่าว เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ในกำหนด 1 ปี นับแต่ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย ดังนั้น แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย หากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระ อายุความ 1 ปีตามมาตรา 1754 วรรคสาม ดังกล่าวข้างต้นอาจจะล่วงพ้นไปแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ

📍ตามกฎหมายได้กำหนดว่าเจ้าหนี้ต้องฟ้องเอาเงินจากกองมรดกภายใน 1 ปีตั้งแต่เจ้ามรดกตาย หรือรู้ว่าเจ้ามรดกตาย ซึ่งโดยปกติเมื่อลูกหนี้เสียชีวิต เจ้าหนี้จะทราบได้จากทายาทที่ติดต่อเข้ามาแจ้ง หรือเพราะลูกหนี้ขาดส่งค่างวด ก็ต้องมีการติดตามทวงถาม และจะทำให้เจ้าหนี้ได้ทราบว่าลูกหนี้ได้เสียชีวิตแล้ว

📌สรุปง่ายๆ เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายไปแล้ว เจ้าหนี้จะต้องเรียกร้องหรือฟ้องร้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของลูกหนี้ผู้ตาย ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้รู้ว่าลูกหนี้ถึงแก่ความตาย ถึงแม้หนี้จะยังไม่ถึงกำหนดชำระก็ตาม มิฉะนั้น คดีจะขาดอายุความโดยไม่ต้องรอให้หนี้ถึงกำหนดชำระก่อน เพราะสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย

🔆ตามสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญากู้ เมื่อผู้เช่าซื้อหรือผู้กู้เสียชีวิตจะถือว่าสัญญาสิ้นสุด เพราะผู้ให้สินเชื่อจะคำนึงถึงคุณสมบัติของผู้เช่าซื้อหรือผู้กู้เป็นสำคัญ ทายาทจะต้องหาบุคคลอื่นซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้เช่าซื้อหรือผู้กู้ตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ให้เช่าซื้อหรือผู้ให้กู้กำหนดมารับโอนสิทธิ์หรือปิดบัญชี ทั้งนี้และทั้งนั้นต้องกระทำโดย“ผู้จัดการมรดก” ***ต้องดูข้อสัญญาประกอบของแต่ละผู้ให้สินเชื่อ***

ติดต่อทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายพีท 089-595-5014
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments