คำพิพากษาฎีกาที่ 999/2561

จ.ติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนกับจำเลยที่ 3 ทางโทรศัพท์ โดย จ. ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนแต่จะติดต่อส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางกันทางโทรศัพท์

จำเลยที่ 3 ฝ่ายผู้ซื้อ ยังไม่ได้รับมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 1 ฝ่ายผู้ขาย จำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลาง เพราะจำเลยที่ 3 ฝ่ายผู้ซื้อ ไม่อาจครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางร่วมกับจำเลยที่ 1 ฝ่ายผู้ขายได้ในขณะเดียวกัน จำเลยที่ 3 ไม่มีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย ..แต่การที่จำเลยที่ 3 ไปรอรับเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 1 ที่จุดนัดหมายถือเป็นการกระทำความผิดที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จเข้าขั้นลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานพยายามมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้เช่นเดียวกับความผิดสำเร็จฐานมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ 2534 มาตรา 7
..เงินที่จำเลยที่ 3 เตรียมไว้สำหรับซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้นำมาส่งมอบให้ เป็นทรัพย์สินซึ่งมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาฎีกาที่ 7901/2560

อาวุธปืนของกลางแม้เป็นปืนที่มีทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แต่จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงขึ้นฟ้าเพื่อให้ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 เกิดความกลัวหรือความตกใจ และกระสุนปืนถูกบ้านของผู้เสียหายที่ 3 ได้รับความเสียหาย ย่อมถือได้ว่า
อาวุธปืนของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตาม ป.อ.มาตรา 358 อันพึงต้องริบตาม ป.อ.มาตรา 33 ( 1 )

สรุป
ทรัพย์ที่ต้องริบ ตามมาตรา 32 , 34 คือทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด เช่น ปืนไม่มีทะเบียน เงินสินบน เป็นต้น
ทรัพย์ที่ริบได้ ตามมาตรา 33 คือทรัพย์ที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้กระทำความผิด เช่น ปืนมีทะเบียน+ได้ใช้ เป็นต้น

ปรึกษาทีมงานทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments