คำพิพากษาฎีกาที่ 4248/2561

ข้อเท็จจริงที่จำเลยมอบอำนาจให้ พ.ไปแจ้งความกล่าวหาโจทก์
ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามลำดับเหตุการณ์ ไม่ปรากฏว่า พ.ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใดที่เป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง การที่จำเลยมอบอำนาจให้ พ.ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหาร่วมยักยอกทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ เป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างไปตามความเข้าใจของตน อีกทั้งมีรายงานการประชุมของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเจ้าของเช็คที่ถูกยักยอกและถูกทำให้เสียหายในคดีนี้เป็นพยานสนับสนุนข้อความที่ พ.แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจึงตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำตามที่จำเลยแจ้งจะเป็นความผิดหรือไม่ เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานใด ซึ่งไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการแจ้งความย่อมหมายถึงการแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายแม้ต่อมาพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ตาม การกระทำของจำเลย
ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 และมาตรา 173

สรุป
การแจ้งความ หมายถึง การแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย เมื่อการแจ้งความร้องทุกข์ตรงกับสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ดังนั้นแม้ต่อมาพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ

ปรึกษาทีมงานทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments