บัตรเครดิตนั้นหากมีการใช้อย่างมีวินัยย่อมจะไม่เกิดปัญหาต่อตนเองอย่างแน่นอน แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวังก็นำมาซึ่งความกังวลและนำไปสู่การเป็นหนี้บัตรเครดิตอย่างไม่ตั้งใจจนถึงขั้นอาจจะได้รับหมายศาลบัตรเครดิตได้หากมีการผิดนัดการชำระ หรือไม่ชำระ ปัญหาของหนี้บัตรเครดิตที่เกิดจากการผิดนัดชำระหรือการชำระแบบขั้นต่ำจนทำให้เกิดดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และไม่สามารถนำเงินกลับมาคืนให้กับสถาบันการเงินได้ เมื่อสถาบันการเงินเริ่มติดต่อทวงถามค่าบัตรเครดิต ก็กลับถูกปฏิเสธ จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาล หน้าที่ของศาลจึงทำการออกหมายเรียกลูกหนี้ผ่านทางจดหมายไปยังที่อยู่ของลูกหนี้ ( ตามสำเนาทะเบียนบ้าน ) โดยการไปเช็คข้อมูลที่อยู่ของลูกหนี้ ที่”กองทะเบียนราษฎร์” สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

สิ่งที่ต้องทำเมื่อได้รับหมายศาลบัตรเครดิต

1. ให้ตรวจสอบรายละเอียดของหมายศาลว่าจะฟ้องที่ศาลไหน กำหนดวันขึ้นศาลเมื่อไร?
2. ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับยอดหนี้ที่ทางเจ้าหนี้ยื่นฟ้องว่าเป็นมูลหนี้เท่าไหร่ เงินต้นเท่าไหร่ ยอดฟ้อง+ดอกเบี้ยรวมเป็นเงินกี่บาท?
3. ตรวจสอบดูว่าทางเจ้าหนี้ฟ้องเกินอายุความหรือไม่ นั่นคือบัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปี นับจากวันชำระครั้งสุดท้าย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2551
4. พิจารณาว่าจะสู้คดีหรือจะต่อรองกับเจ้าหนี้อย่างไรได้บ้าง

หลังจากตรวจสอบรายละเอียดของหมายศาลบัตรเครดิตแล้ว เจ้าของบัตรควรต้องการเลือกวิธีแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างไร เช่น
1. อาจจะนำหมายศาลไปให้ทนายช่วยดูก่อนก็ได้ว่าเราจะมีข้อต่อสู้อะไรได้บ้าง ในกรณีที่ต้องการระยะเวลาในการเก็บเงิน ก็คือให้ทนายยื่นคำให้การ

2. ไปไกล่เกลี่ยในวันที่ศาลนัดเลย โดยขอผ่อนชำระ เป็นงวด และขอให้หยุดดอกเบี้ยระหว่างการชำระหนี้ และขอให้ทำบันทึกโจทก์ – จำเลยที่ศาล ระบุจำนวนงวดที่จะชำระ และการชำระเงินก็ต้องจ่ายเข้าบัญชีเจ้าหนี้เท่านั้น

3. หากต้องการให้อายัดเงินเดือน เจ้าของบัตรต้องมีทรัพย์สินที่เจ้าหนี้สามารถอายัดได้หรือไม่ เช่น รถยนต์ บ้าน เงินในบัญชีต่าง ๆ

หมายเหตุ กรณีคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์สินภายในบ้านได้หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีที่เป็นสามีภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมาย ให้ถือว่าทรัพย์สินภายในบ้านเป็นสินสมรส เจ้าหนี้มีสิทธิ์นำชี้แถลงยืนยันต่อ เจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมนำส่งเอกสารประกอบการยึดทรัพย์ได้ หากทรัพย์ภายในบ้านเป็นสินสมรสจริง

4. เตรียมคำให้การกับศาล นั่นก็คือการทำข้อมูลแก้ต่างตามที่เจ้าหนี้ยื่นฟ้องเจ้าของบัตรนั่นเอง โดยให้ทนายยื่นคำให้การต่อสู้ในศาล

5. การประนอมหนี้ คือ การที่เจ้าหนี้ยินยอมลดจำนวนหนี้สินลง หรืออาจจะยืดระยะเวลาการชำระหนี้ให้ เพื่อให้ลูกหนี้ได้ผ่อนชำระในจำนวนเงินที่น้อยลงสมกับสถานะทางการเงินปัจจุบันของลูกหนี้ ส่วนจำนวนหนี้ที่ยอมลดให้จะมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการต่อรองระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ แม้ว่าบางครั้งเจ้าหนี้จะได้รับการชำระหนี้ไม่สูงแต่ถือว่าดีกว่าไปฟ้องร้อง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายทางศาล

สรุป สิ่งสำคัญที่สุดที่ลูกหนี้ควรจะทำเมื่อได้รับหมายศาลบัตรเครดิตก็คือควรจะไปศาลในวันนัด เพราะไม่เช่นนั้น ศาลจะตัดสินคดีในวันนั้นเลย และเจ้าของบัตรจะไม่มีโอกาสได้ต่อรองเพื่อลดหย่อนหนี้ได้เลย การขึ้นศาลเป็นโอกาสที่ดีที่สุด และทนายของฝ่ายเจ้าหนี้ก็อาจจะทำเรื่องขอยึดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือนได้ โดยกรมบังคับคดีกำหนดให้ลูกหนี้ที่พนักงานเอกชน และพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง จะสามารถถูกอายัดเงินเดือนได้

ข้อคิด การไม่เป็นหนี้ คือลาภอันประเสริฐ

ปรึกษาทีมงานทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments