ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา มาตรา 220 วางหลักว่า ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2560

ความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมและฐานกระทำหรือยินยอมให้กระทำการเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วนบริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องโจทก์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

พิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2550

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องโจทก์ ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

สรุป

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา มาตรา 220 นี้นําไปใช้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องด้วย ดังนั้น คดีที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลจึงพิพากษายกฟ้อง หากต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คู่ความทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นโจทก์ โจทก์ร่วม จำเลย จะฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและในปัญหาข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม คดีที่ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 220 นี้ คู่ความมีสิทธิขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกาหรือขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาตามหลักเกณฑ์ในป.วิ.อาญา มาตรา 221 ได้

ปรึกษาทีมงานทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายไผ่ 095-781-9477
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments