Home คดีอาญา ซื้อทรัพย์สินมาจากการขายทอดตลาด เจ้าของเดิมไม่ยอมออกฟ้องขับไล่ได้หรือไม่

ซื้อทรัพย์สินมาจากการขายทอดตลาด เจ้าของเดิมไม่ยอมออกฟ้องขับไล่ได้หรือไม่

6361

คําถาม บุคคลซึ่งได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แต่ยังไม่ได้ จดทะเบียนการได้มาจะยกสิทธิของตนเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ซื้อที่ดินดังกล่าวจาก การขายทอดตลาดตามคําสั่งศาลหรือบุคคลผู้รับโอนที่ดินจากบุคคลดังกล่าวมาได้หรือไม่

คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คําพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๔๐/๒๕๖๒

จําเลยซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นิติกรรม ดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๕๖ วรรคหนึ่ง แต่ผู้ขายได้ส่งมอบที่ดิน พิพาทให้เข้าครอบครองปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี จําเลยย่อมได้ กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๔๒ แต่การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน พิพาทกรณีดังกล่าวเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม เมื่อยังมิได้จดทะเบียนจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้ จดทะเบียนนั้น จําเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสีย ค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า บุคคลภายนอกกระทําการโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง และ มาตรา ๑๓oo

ในการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามคําสั่งศาลชั้นต้น กองทุนรวม บ. ผู้ซื้อซึ่ง | เป็นบุคคลภายนอกย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้กระทําการ

โดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 จําเลยกล่าวอ้างว่ากองทุนรวม บ. และโจทก์ร่วมกัน กระทําการโดยไม่สุจริตจึงมีภาระการพิสูจน์

กองทุนรวม บ. ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคําสั่งศาล และ โจทก์ผู้รับโอนที่ดินพิพาทต่อมา ซึ่งถือว่าเป็นผู้สืบสิทธิของกองทุนรวม บ. ได้กระทํา การรับโอนไว้โดยสุจริตเช่นกัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของกองทุนรวม บ. และของโจทก์ ย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๓๐ การที่จําเลยซึ่งซื้อที่ดินพิพาทและเข้า ทําประโยชน์ปลูกบ้านอยู่อาศัยจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง เมื่อยังไม่ได้จดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่อาจยกขึ้นต่อสู้กองทุนรวม บ. บุคคลภายนอกผู้ซื้อที่ดินพิพาท

โดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคําสั่งศาลและต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิโดยสุจริตได้ และการที่จําเลยครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่กองทุนรวม บ. โอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ถึง วันที่จําเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ออกจากที่ดินพิพาทยังไม่ครบ ๑๐ ปี จําเลยย่อมไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ในช่วงหลังนี้ ดังนั้น เมื่อโจทก์บอกกล่าว ให้จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วแต่จําเลยยังคงเพิกเฉยย่อมเป็นการโต้แย้ง สิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจําเลยและบริวารให้ออกจากที่ดินพิพาทได้ ทั้งมีสิทธิ เรียกร้องให้จําเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดินพิพาทได้ด้วย

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments