คําถาม ผู้ค้ําประกันถึงแก่ความตายไปก่อนลูกหนี้ผิดนัด สิทธิหน้าที่ความรับผิด ตามสัญญาค้ําประกันเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทของผู้ค้ําประกันหรือไม่
คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๗๖๓/๒๕๖๒
จําเลยที่ ๑ ทําสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินกู้ยืม ๔๐,๐๐๐ บาท ไปจากโจทก์แล้ว ในวันทําสัญญา หนี้เงินกู้ของจําเลยที่ ๑ จึงเป็นอันสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๖๘๑ วรรคหนึ่ง จําเลยที่ ๒ และ ส. ผู้ค้ําประกัน ย่อมผูกพันตนต่อ เจ้าหนี้เพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้นตามมาตรา ๖๕๐ วรรคหนึ่ง ผู้ค้ําประกัน หาได้มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้โดยอาศัยความสามารถหรือคุณสมบัติบางอย่างซึ่งต้อง กระทําเป็นการเฉพาะตัวไม่ จึงถือได้ว่าเป็นความผูกพันต่อเจ้าหนี้ในทางทรัพย์สินเท่านั้น ผู้ค้ําประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดต่อเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปตามมาตรา ๖๙๔ แม้ภายหลังทําสัญญาค้ําประกันจะได้ความว่าโจทก์และจําเลยที่ ๑ ต่างไม่ถือเอากําหนด เวลาในการชําระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสําคัญอีกต่อไป อันมีความหมายว่าสัญญากู้ยืมเงิน เป็นสัญญาที่มิได้กําหนดเวลาชําระหนี้ไว้ แต่เมื่อจําเลยที่ ๑ ผิดนัดในเวลาต่อมาและโจทก์ บอกเลิกสัญญา ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ ส. ถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อ หนี้กู้ยืมดังกล่าวยังคงมีอยู่อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ก่อนวันที่ ส. จะถึงแก่ความตาย และสัญญา ค้ําประกันก็หาได้ระงับไปเพราะความตายของ ส. ไม่ สิทธิหน้าที่และความรับผิด ต่าง ๆ ตามสัญญาค้ําประกันที่ ส. ทํากับโจทก์จึงเป็นกองมรดกของผู้ตายและตกทอด แก่ทายาทตามมาตรา ๑๕๙๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๖๐๐ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจําเลย ที่ ๓ ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. เพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนที่มีและได้รับ ชําระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของ ส. ตามมาตรา ๑๗๓๔ และมาตรา ๑๗๓๗
สรุป ผู้ค้ําประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดต่อเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปตามมาตรา ๖๙๔ สิทธิหน้าที่และความรับผิด ต่าง ๆ ตามสัญญาค้ําประกันที่ ส. ทํากับโจทก์จึงเป็นกองมรดกของผู้ตายและตกทอด แก่ทายาทตามมาตรา ๑๕๙๙ วรรคหนึ่ง
ความเห็นส่วนตัว ค่อนค้างเห็นแย้งกับฎีกาดังกล่าวเพราะความรับผิดในการค้ำประกันควรสิ้นสุดลงเมื่อผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตาย
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th