ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1613 วรรคหนึ่ง วางหลักว่า การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้

หลักเกณฑ์มาตรา 1613 วรรคหนึ่ง

1. การสละมรดกจะทำเพียงบางส่วนไม่ได้
2. การสละมรดกจะทำโดยมีเงื่อนไขไม่ได้
3. การสละมรดกจะทำโดยมีเงื่อนเวลาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6948/2560

ตามบันทึกถ้อยคำไม่ขอรับมรดกที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่บุตรของเจ้ามรดกมีสิทธิรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวด้วยในฐานะทายาทโดยธรรม ได้ทราบการขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาทตามประกาศของสำนักงานที่ดินแล้ว ไม่มีความประสงค์ขอรับโอนมรดกดังกล่าวยินยอมให้ ส. เป็นผู้รับโอนมรดกดังกล่าว ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินสั่งการโอนมรดกให้ผู้ขอ บันทึกถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 และ 1613 เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด และยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วย แต่เป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850

สรุป

การที่โจทก์และจำเลยให้ถ้อยคำต่อ เจ้าพนักงานที่ดินว่า ไม่มีความประสงค์ขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาท ยินยอมให้ ส. เป็นผู้รับโอนมรดก ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินสั่งการโอนมรดกให้ผู้ขอ มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะบันทึกถ้อยคำดังกล่าวทำโดยมีเงื่อนไข ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1613 ซึ่งการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ดังนี้ บันทึกถ้อยคำดังกล่าวจึงไม่เป็นการสละมรดก

ปรึกษาทีมงานทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายไผ่ 095-781-9477
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments