Home ทั้งหมด รวมคำพิพากษาศาลฎีกาสู้คดีฟ้องคดีแบ่งสินสมรส

รวมคำพิพากษาศาลฎีกาสู้คดีฟ้องคดีแบ่งสินสมรส

5954

สินส่วนตัวและสินสมรส สินส่วนตัว มีบัญญัติไว้ที่มาตรา ๑๔๗๓ กับมาตรา ๑๔๗๒ ส่วน สินสมรส ได้แก่ มาตรา ๑๔๗๔ ระวังจะสับสนระหว่างมาตรา ๑๔๗๑ (๓) กับ มาตรา ๑๔๗๔ (๒)

คําพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับสินส่วนตัวและสินสมรส

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๖๕๙/๒๕๒๙ ของขวัญที่เป็นของใช้ในครอบครัว ซึ่ง ญาติและเพื่อนของคู่สมรสมอบให้เนื่องในวันสมรสนั้น ผู้ให้ย่อมมีเจตนาที่จะให้คู่สมรสได้ ใช้สอยเมื่ออยู่ร่วมกัน ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้ให้รายใดแสดงเจตนาไว้เป็นพิเศษว่า มอบแก่คู่สมรส ฝ่ายใดโดยเฉพาะแล้ว แม้จะเป็นของที่มอบให้โจทก์ก่อนวันแต่งงาน ๑ วัน ก็ตาม ก็ถือได้ว่า เป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส ย่อมตกเป็นสินสมรสตามมาตรา ๑๔๗๔ (๑)

ข้อสังเกต ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ของขวัญเนื่องในการสมรส แม้จะให้ก่อนสมรสก็ เป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส จึงถือว่าเป็นสินสมรส

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๗๓๖/๒๕๓๔ สินสมรสตามมาตรา ๑๔๗๔ ต้องเป็น ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรส ร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรสกลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสได้

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๓๙/๒๕๒๒ ที่ดินเป็นสินส่วนตัวของสามีได้เปลี่ยนไป โดยแลกกับที่ดินแปลงอื่น สิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนอีกจํานวนหนึ่งตามสัญญาประนีประนอม ยอมความในคดีก่อนตามกฎหมาย ที่ดินที่ได้มาใหม่กับสิทธิที่จะได้รับเงินนั้น เป็นสินส่วนตัว ของสามี ตามมาตรา ๑๔๖๕ (มาตรา ๑๔๗๒ บรรพ ๕ ใหม่)

ขอให้สังเกตว่า สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใด นําไปแลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์อีกอย่างหนึ่ง ทรัพย์ที่ได้มาใหม่ก็ยังเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา ๑๔๗๒ ที่เน้นตรงนี้ เพราะว่าถ้าเป็นสินส่วนตัว ของคู่สมรสฝ่ายใด ก็นําสินส่วนตัวคืนให้ฝ่ายนั้น โดยไม่ต้องแบ่งให้คู่สมรสตามกฎหมายลักษณะ ครอบครัว

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๘๓/๒๕๔๐ ในการทําพินัยกรรมเกี่ยวกับสินสมรสระหว่าง สามีภริยาต้องบังคับตามมาตรา ๑๔๘๑ ที่ระบุว่าสามีหรือภริยาไม่มีอํานาจทําพินัยกรรมยกสิน สมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้ ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าโจทก์ตกลง

ยินยอมให้ ช. สามีทําพินัยกรรมยกสินสมรสของตนให้แก่บุคคลอื่น ข้อตกลงนั้นย่อมฝ่าฝืน ต่อบทบัญญัติดังกล่าว และยังขัดต่อความมุ่งหมายของมาตรา ๑๖๘๖ ที่กําหนดให้บุคคลใด ๆ มีสิทธิทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้น เหตุนี้ ข้อตกลงยินยอมดังกล่าว จึงไม่ทําให้พินัยกรรมที่ ซ. จัดทํา มีผลผูกพันไปถึงที่ดินสมรสที่เป็น ส่วนของโจทก์ ส่วนโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษา แสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรส ที่เป็นส่วนของโจทก์ได้

ค่าพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๒๐๐/๒๕๔๐ ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดก กับจําเลย ซึ่งตามกฎหมาย เจ้ามรดกและจําเลยต่างมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่ง เมื่อ เจ้ามรดกทําพินัยกรรมที่ดินพิพาทให้ จ. เพียง ๑ ใน ๔ ส่วนของพื้นที่ทั้งหมด ไม่เกินไปจาก ส่วนที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าของ จึงอยู่ในอํานาจของเจ้ามรดกที่จะทําพินัยกรรมได้ ข้อกําหนดใน พินัยกรรมในส่วนนี้ จึงมีผลบังคับตามกฎหมาย

ขอให้สังเกตว่า คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๘๓/๒๕๔๐ กับ ๗๒๐๐/๒๕๔๐ มีความ แตกต่างกันอย่างไร

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๔๙/๒๔๘๖ เมื่อเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ แต่ตายจากกันเมื่อใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ แล้ว การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาต้องเป็นไป ตามกฎหมายลักษณะตัวเมีย แต่การแบ่งมรดกต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. บรรพ 5

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๑๓/๒๕๐๖ การแบ่งมรดกมีขึ้นได้ต่อเมื่อบุคคลนั้น ถึงแก่ความตาย ดังนั้น เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายในขณะใช้กฎหมายใด ต้องตกอยู่ใน บังคับแห่งกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น ในเมื่อเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ และ บรรพ 5 แต่ภายหลังใช้บรรพ ๕ และ บรรพ 5 แล้ว ต้องแบ่งมรดกตาม ป.พ.พ. บรรพ

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๖๑/๒๕๑๐ ชายหญิงที่อยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้ จดทะเบียนสมรส ไม่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกัน แต่ขอให้แบ่งทรัพย์สินที่ถือว่าเป็น เจ้าของร่วมได้ ตามมาตรา ๑๓๕๖ และ ๑๓๖๔

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๙๖/๒๕๔๖ ก่อนที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจําเลยนั้น ต่างฝ่ายต่างมีคู่สมรสซึ่งจดทะเบียนสมรสโดยชอบอยู่แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์กับจําเลย จึงเป็นโมฆะ จําเลยประกอบกิจการค้ายาสมุนไพรก่อนจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ซึ่งในการ ประกอบธุรกิจดังกล่าว โจทก์ไม่มีข้อตกลงใด ๆ กับจําเลยในเรื่องการแบ่งปันผลกําไร

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments