ข้อแตกต่างระหว่างที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์กับที่ดินที่มีสิทธิ์ครอบครอง
๑. แบบของนิติกรรม หากเป็นที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ นิติกรรมที่เกี่ยวกับที่ดินนั้น มีแบบต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย แลก เปลี่ยน ให้ ผลของการไม่ทําตามแบบของนิติกรรมนั้นก็คือเป็นโมฆะ
๒ที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์จะมีการแย่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม มาตรา ๑๓๔๒ ได้ ส่วนที่ดินที่มีสิทธิครอบครองไม่มีกรรมสิทธิ์ เมื่อไม่มีกรรมสิทธิ์ ไม่สามารถแย่งกรรมสิทธิ์ได้ ได้แต่เพียงแย่งสิทธิครอบครองตามมาตรา ๑๓๗๕
ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองสามารถโอนกันได้ โดยการส่งมอบการ ครอบครอง และผู้ที่รับโอนการครอบครองต้องมีเจตนายึดถือเพื่อตนตามมาตรา ๑๓ ci๗ และมาตรา ๑๓๗๕ สาหรับที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครอง ไม่ว่าจะเป็น น.ส. ๓. น.ส.๓ ก: หรือ ส.ค. ๑ ที่ดินเหล่านี้มีเอกสารสิทธิแสดงการครอบครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น.ส. ๓ และ น.ส. ๓ มีทะเบียนที่ดิน ที่ดินประเภทนี้ก็อาจจะมีการโอนโดยการจดทะเบียนได้ แต่ การโอนสิทธิครอบครองโดยการส่งมอบ: และรับมอบการครอบครอง มีเจตนายึดถือเพื่อ ตนตามมาตรา ๑๓๗ และมาตรา ๑๓๗๔ ก็ยังคงใช้ได้อยู่ ซึ่งศาลฎีกาเรียกการโอน ว่าการโอนโดยข้อเท็จจริง ด้วยการสละการครอบครองและ ส่งมอบการครอบครองให้แก่ผู้รับโอน”
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๗๘/๒๕๒๐ การขายที่ดินมี น.ส. ๓ โดยทําสัญญา ซื้อขายกันเอง ผู้ขายสละการครอบครองให้แก่ผู้ซื้อครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน ผู้ซื้อจึงได้สิทธิครอบครองทันที ทั้งยังเป็นการโอนโดยข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์มาตรา ๑๓๗๗ และมาตรา ๑๓๗๔ อีกด้วย มีผลบังคับกันได้ การไม่ทํา สัญญากันเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หาทําให้การซื้อขายเป็นโมฆะไม่ – ระวัง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๗/๒๕๓๕ จําเลยขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดิน น.ส. ๓ ให้โจทก์ โดยไม่ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การซื้อขายตกเป็น โมฆะตามมาตรา ๔๕๖ วรรคหนึ่ง แต่การที่โจทก์ครอบครองที่พิพาทหลังจากซื้อจาก จําเลย โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาเนิชย์ มาตรา ๑๓๗๗ และมาตรา ๑๓๗๔ โดยไม่ต้องทําตามแบบนิติกรรม จําเลยจึงไม่มีหน้าที่ทาง นิติกรรมที่จะต้องจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ ใน : คําพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ เป็นการยืนยันว่า การซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินมี เพียงหนังสือแสดงสิทธิครอบครองทําได้โดยเพียงส่งมอบและรับมอบ และผู้รับมอบเข้า ยึดถือเพื่อต้น ผู้รับมอบก็ได้สิทธิครอบครองโดยการรับโอนมาตามมาตรา ๑๓ ๗๗ และ มาตรา ๑๓๗ ไม่ได้เป็นการรับโอนสิทธิครอบครองโดยนิติกรรมการโอนสิทธิครอบครอง
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-77773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th