คําถาม การทําสัญญาค้ําประกัน เป็นการจัดการสินสมรสที่สามีและภริยาต้อง จัดการร่มกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่
คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คําพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๓๔/๒๕๕๙
บริษัท ก. ได้กู้ยืมเงินโจทก์โดยมีจําเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องทําสัญญาเป็นผู้ค้ําประกันหนี้ของบริษัทดังกล่าว ต่อมาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จําเลยที่ ๑ ชําระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จําเลยที่ ๑ ไม่ชําระ โจทก์จึงนําเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหุ้นประเภทหุ้นสามัญของบริษัท ร.ของจําเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นสินสมรสของจําเลยที่ ๑ กับผู้ร้องเพื่อบังคับชําระหนี้ตามคําพิพากษา
ผู้ร้องขอให้กันส่วนหุ้นสามัญที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้สําหรับผู้ร้องกึ่งหนึ่งนั้น เมื่อไม่ได้ ความว่าบริษัท ก. เป็นบริษัทที่ประกอบกิจการในครอบครัวของจําเลยที่ ๑ กับผู้ร้อง ทั้งการ กู้ยืมเงินเป็นเรื่องที่บริษัท ก. เป็นผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ โดยหาใช่เป็นกรณีที่จําเลยที่ ๑ เป็นผู้กู้ยืม เพื่อนําเงินมาใช้จ่ายในครัวเรือนของจําเลยที่ ๑ กับผู้ร้องแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับเมื่อพิจารณา ถึงสัญญาค้ําประกันที่จําเลยที่ ๑ ทําไว้แก่โจทก์ ก็จะเห็นได้ว่าจําเลยที่ ๑ ทําสัญญายอม ผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชําระหนี้ในเมื่อบริษัท ก. ไม่ชําระหนี้เงินกู้ยืมนั้น ซึ่งการเป็นผู้ค้ําประกัน ของจําเลยที่ ๑ ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการกระทําเพื่อประโยชน์แก่ผู้ให้กู้แล้ว ยังเป็นการ กระทําเพื่อประโยชน์แก่บริษัท ก. ผู้รู้ เพื่อจะได้มีเงินมาใช้ในการประกอบกิจการของบริษัท แม้จําเลยที่ ๑ จะเป็นกรรมการผู้มีอํานาจของบริษัท ก. แต่หนี้ที่เกิดขึ้นจากการทําสัญญา ค้ําประกันของจําเลยที่ ๑
ก็มิใช่หนี้ที่เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจําเป็นสําหรับ ครอบครัวหรือเป็นหนี้เกี่ยวแก่การอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว หรือเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับ สินสมรสหรือเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานที่จําเลยที่ ๑ และผู้ร้องทําด้วยกัน เมื่อหนี้ตาม สัญญาค้ําประกันของจําเลยที่ ๑ มิใช่หนี้ที่เป็นไปตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๙๐ หนี้ประเภทนี้จึงมิใช่หนี้ที่จําเลยที่ ๑ และผู้ร้องเป็นลูกหนี้ร่วมกัน แต่เป็นหนี้ ส่วนตัวของจําเลยที่ ๑ โดยแท้
บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๖ มิได้บัญญัติให้การทําสัญญาค้ําประกัน เป็นการจัดการสินสมรสที่สามีและภริยาต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอม จากอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจําเลยที่ ๑ ผู้เป็นสามีของผู้ร้องสามารถทําสัญญา ค้ําประกันได้ตามลําพัง โดยกฎหมายไม่ถือว่าเป็นการกระทําที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสของ ทั้งสองฝ่าย ทั้งการที่ผู้ร้องเพิกเฉยมิได้โต้แย้งก็ไม่อาจฟังได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การ ทําสัญญาค้ําประกันของจําเลยที่ ๑ เมื่อหนี้ของจําเลยที่ ๑ ตามคําพิพากษาศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์มิใช่หนี้ที่จําเลยที่ ๑ และผู้ร้องเป็นลูกหนี้ร่วมกัน โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา จึงไม่อาจบังคับชําระหนี้เอาจากสินสมรสในส่วนของผู้ร้องได้โดยไม่จําต้องพิจารณาว่าจําเลยที่ ๑ และผู้ร้องได้หย่าขาดจากกันแล้วหรือไม่
สรุป บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๖ มิได้บัญญัติให้การทําสัญญาค้ําประกัน เป็นการจัดการสินสมรสที่สามีและภริยาต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอม จากอีกฝ่ายหนึ่ง
มีปัญหาคดีความปรึกาาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th