คําถาม การตัดมิให้รับมรดก การถอนการแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดก มีหลักเกณฑ์ อย่างใด
หนังสือตัดมิให้รับมรดกมีข้อความว่า มีการถอนการตัดมิให้รับมรดกแต่ไม่มีลายมือชื่อ ของเจ้ามรดก จะถือว่ามีการถอนการตัดมิให้รับมรดกแล้วหรือไม่
คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิฉัยไว้ดังนี้ คําพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๘๔/๒๕๖๒
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติให้เจ้ามรดกมีสิทธิแสดงเจตนาตัดทายาท โดยธรรมของตนไม่ให้รับมรดกได้โดยการแสดงเจตนาตามแบบที่กําหนดไว้ในมาตรา ๑๖๐๔ คือ ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง (๑) โดยพินัยกรรม (๒) โดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่และมาตรา ๑๖๐๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้น จะถอนเสียก็ได้” โดยการแสดงเจตนาตามแบบที่กําหนดไว้ในมาตรา ๑๖๐๙ วรรคสอง คือ ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทําโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น แต่ถ้า การตัดมิให้รับมรดกได้ทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจะทําตามแบบใด แบบหนึ่งดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๐๔ (๑) หรือ (๒) ก็ได้ บทบัญญัติดังกล่าวเป็น บทบัญญัติที่กําหนดแบบของการแสดงเจตนาตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกและแบบของการ ถอนการแสดงเจตนาดังกล่าว
เจ้ามรดกได้แสดงเจตนาตัดมิให้ ท. รับมรดกไว้ตามหนังสือตัดทายาทโดยธรรม มิให้รับมรดก ซึ่งมีการจัดทําเป็นไปตามแบบของการตัดมิให้รับมรดกโดยทําเป็นหนังสือมอบไว้ แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๖๐๔ (๒) แล้ว หากเจ้ามรดกประสงค์จะถอนการแสดง เจตนาตัดมิให้รับมรดกก็ต้องทําให้ถูกต้องตามแบบที่มาตรา ๑๖๐๙ วรรคสอง กําหนดไว้อย่างใด อย่างหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเจ้ามรดกไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้และไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนา ถอนการตัดมิให้รับมรดกไว้เป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด คงมีเพียง ข้อความที่ระบุเพิ่มเติมไว้ที่ด้านซ้ายของหนังสือตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกว่ามีการถอน การตัดมิให้ ท. รับมรดกแล้วซึ่งมีเพียงลายมือชื่อของ ป. แต่ไม่มีลายมือชื่อของเจ้ามรดก จึงไม่อาจถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของเจ้ามรดก เมื่อ ท. ถูกตัดมิให้รับมรดกจึงไม่เป็นทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก โดยผลแห่งหนังสือตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๐๔ (๒) แล้ว ย่อมมีผลให้ผู้คัดค้านไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th