คําถาม คดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ขอถอนฟ้องก่อนอ่านคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีอํานาจสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องได้หรือไม่
การร้องทุกข์ให้ดําเนินคดีแก่บริษัทจํากัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลจะถือว่าเป็นการร้องทุกข์ให้ ดําเนินคดีแก่กรรมการบริษัทด้วยหรือไม่ คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คําพิพากษาฎีกาที่ ๗๓๔๔/๒๕๖๒
คดีความผิดอันยอมความได้ โจทก์อาจถอนฟ้องได้ก่อนคดีถึงที่สุดตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๕ วรรคสอง โจทก์ยื่นคําร้องขอถอนฟ้องจําเลย ที่ ๒ ก่อนอ่านคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของ ศาลอุทธรณ์ ภาค ๑ ศาลชั้นต้นชอบที่มีคําสั่งให้ส่งคําร้องของโจทก์ให้ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเสียเอง เป็นการดําเนิน กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลฎีกาให้เพิกถอนคําสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๑๕ เมื่อสํานวนคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกา มีคําสั่งไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสํานวนไปให้ศาลล่างทั้งสองมีคําสั่งใหม่โดยศาลฎีกา อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจําเลยที่ ๒ ได้
โจทก็ร้องทุกข์ให้ดําเนินคดีแก่จําเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจําเลย ที่ ๓ ถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องทุกข์ให้ดําเนินคดีแก่จําเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจําเลย ที่ ๑ ด้วย เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๐ เป็นความผิดอันยอม ความได้และโจทก์มิได้ร้องทุกข์ให้ดําเนินคดีแก่จําเลยที่ ๓ ภายในสามเดือนนับแต่รู้เรื่องความ ผิดและรู้ตัวผู้กระทําความผิด ฟ้องโจทก์ในส่วนของจําเลยที่ ๓ ขาดอายุความ ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา ๙๖
ปัญหาว่า คดีขาดอายุความหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย ศาลยกขึ้นอ้างได้แม้จําเลยที่ ๓ จะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นก็ตาม ตามประมวล
สรุป การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเสียเอง เป็นการดําเนิน กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
มีปัญหาคดีความปรึกษษทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th