Home คดีครอบครัว อายุความที่จำเลยให้การต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ เป็นคนละอายุความกันกับที่สู้คดีในศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นข้อที่ว่ากล่าวกันมาแล้วหรือไม่

อายุความที่จำเลยให้การต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ เป็นคนละอายุความกันกับที่สู้คดีในศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นข้อที่ว่ากล่าวกันมาแล้วหรือไม่

2890

ฎีกา 1160/2561

ล. ถึงแก่ความตายก่อนใช้พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ ๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชําระใหม่ พ.ศ.๒๕๑๙ มรดกของ ล. ย่อมตกทอดแก่ทายาททันที่ที่ ความตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๙ แม้จําเลยที่ ๑ ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทโดยธรรมของ ล. จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินเฉพาะส่วนของล.มาเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๒๐ ก็ต้องถือว่าจําเลยที่ ๑ ได้รับที่ดินอันเป็นมรดกของ ล. มา ตั้งแต่วันที่ ล. ถึงแก่ความตาย มิใช่วันที่จําเลยที่ ๑ จดทะเบียนรับ โอนมรดก ที่ดินจึงเป็นสินสมรสระหว่างจําเลยที่ ๑ กับ ป. ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๖๖ (เดิม)

ที่ดินที่จําเลยที่ ๑ ได้มาระหว่างสมรสกับป. โดยได้รับการยกให้ : จาก ล. ซึ่งเป็นมารดาโดยเสน่หาเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ ก่อนใช้พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ ๕ แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชําระใหม่ พ.ศ.๒๕๑๙ จึงเป็น สมรสระหว่างจําเลยกับ ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๖๖ (เดิม)

ที่ดินที่จําเลยที่ ๑ ซื้อมาจาก อ. เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๓๒ เป็นการได้มาระหว่างจําเลยกับ ป. จึงเป็นสินสมรส ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๓ (๑)

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของป.ผู้ตายแทนจําเลย ที่ 9 ซึ่งขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ระหว่างจําเลยที่ ๑ เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ตามคําสั่งศาลได้นําที่ดินพิพาทที่เป็น ทรัพย์มรดกของ ป. ไปขายฝากจําเลยที่ ๒ เป็นเวลา ๑ ปี แล้วไม่นํา เงินมาแบ่งปันแก่ทายาทตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก และการขายฝาก

เป็นเจตนาลวงเพื่ออําพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน นิติกรรมเป็นโมฆะ การกระทําของจําเลยที่ ๑ เป็นการไม่กระทําการตามหน้าที่ ขอให้ พิพากษาว่านิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆะ จึงเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับ การจัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๗๓๓ วรรคสอง ซึ่งมีอายุความห้าปี หาใช่คดีที่ทายาทเรียกร้องขอ แบ่งมรดกจากจําเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของ ป. อันจะเป็นคดี มรดกที่มีอายุความหนึ่งปีตามมาตรา ๑๗๕๔ วรรคหนึ่ง หรือสิบปี ตามมาตรา ๑๗๕๔ วรรคสี่ไม่คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความตามมาตรา ๑๗๕๔ วรรคหนึ่งและวรรคสี่ การที่จําเลยที่ ๑ ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ตามคําให้การ จึงเป็นคําให้การนอกไปจากคําฟ้องไม่ก่อให้เกิด ประเด็น ต้องห้ามมิให้ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒

ปัญหาว่า นิติกรรมการขายฝากที่ดินระหว่างจําเลยทั้งสอง เป็นเจตนาลวงเพื่ออําพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงินหรือไม่ ศาลล่าง ทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อน สํานวน เมื่อโจทก์กล่าวอ้าง โจทก์มีภาระการพิสูจน์ ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๘๔/๑

ที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างจําเลยที่ ๑ และ ป. เมื่อ ป. ถึงแก่ ความตาย สินสมรสส่วนของ ป. ย่อมตกแก่ทายาทของ ป. ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๙ วรรคหนึ่ง ทายาทของ ป. จึงเป็นผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจาก

นิติกรรมตามมาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง และมีสิทธิจดทะเบียนของตน ได้ก่อนตามมาตรา ๑๓๐๐ แต่เมื่อการขายฝากที่ดินระหว่างจําเลย ทั้งสองจําเลยที่ ๑ เป็นผู้จัดการมรดกของป. ซึ่งมิใช่ตัวแทนของทายาท แต่มีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทมีสิทธิที่จะทําการอัน จําเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตามมาตรา ๑๗๑๙ และหากการ จัดการมรดกของผู้จัดการมรดกไม่ถูกต้องทําให้ทายาทเสียหาย ก็เป็น เรื่องที่ทายาทจะไปฟ้องร้องผู้จัดการมรดกเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยตรง ตามมาตรา ๑๗๒๐ ที่ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๘๐๙ ถึง ๘๑๒, ๕๑๙ และ ๔๒๓ (ลักษณะ ๑๕ ตัวแทน) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

แม้ที่ดินเฉพาะส่วนของ ป. ที่ถือกรรมสิทธิ์รวมกับจําเลยที่ ๑ เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทแต่มีชื่อจําเลยที่ ๑ แต่ผู้เดียวไม่ปรากฏมีชื่อ ป. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวม จําเลยที่ ๒ รับซื้อฝากจากจําเลยที่ ๑ โดย สุจริตและเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตไม่ทราบว่าจําเลย ที่ ๑ เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. การจดทะเบียนขายฝากระบุว่าจําเลย ที่ ๑ ทําในฐานะส่วนตัวจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง ที่ห้ามทายาทยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคล ภายนอกผู้ได้สิทธิโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้ จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต และมาตรา ๑๓๐๐ ที่ว่า ท่านว่าจะเรียก ให้เพิกถอนทะเบียนไม่ได้ การจดทะเบียนการขายฝากที่ดินระหว่าง จําเลยทั้งสองไม่เป็นการฉ้อฉลทายาทของ ป. อันจะต้องถูกเพิกถอนคําขอบังคับท้ายคําฟ้องที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอน การขายฝากที่ดินเป็นโมฆะ ถือได้ว่าประสงค์จะให้ที่ดินพิพาทคงเป็น มรดกส่วนของ ป. อยู่เพื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะนําไปแบ่งแก่ ทายาท ทั้งฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจําเลยที่ ๑ ขายฝากที่ดินแล้วไม่ นําเงินมาแบ่งทายาท เมื่อไม่สามารถเพิกถอนการโอนได้ เงินที่จําเลย ที่ ๑ ได้รับจากการขายฝากที่ดินซึ่งเป็นมรดกของ ป. กึ่งหนึ่งจึงเข้า แทนที่ที่ดินมรดกส่วนของ ป. ในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกัน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๒๖ วรรคสอง จําเลยที่ ๑ จึงต้องคืนเงินที่ได้รับจากการขายฝากที่ดินกึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์เพื่อนําไป แบ่งปันแก่ทายาทในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ต่อไป

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments