Home คดีครอบครัว ถูกฟ้องขับไล่ เตรียมตัวสู้คดีอย่างไรบ้าง

ถูกฟ้องขับไล่ เตรียมตัวสู้คดีอย่างไรบ้าง

9159

ถูกฟ้องขับไล่ เตรียมตัวสู้คดีอย่างไรบ้าง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านวันนี้ทีมงานทนายกฤษดา จะมาแนะนำเกี่ยวกับการที่ถูกฟ้องขับไล่บ้าน หรือถูกฟ้องขับไล่ที่ดินเตรียมตัวสู้คดีอย่างไรบ้าง ทีมงานทนายกฤษดา จะมาแนะนำดังนี้ครับ

เกริ่นนำหากท่านถูกฟ้องขับไล่

การฟ้องขับไล่นั้น คือการฟ้องคดีที่โจทก์มีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่ดินที่โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิดีกว่าจำเลยในที่ดินนั้นๆ โดยในการฟ้องคดีขับไล่นั้น บางครั้งโจทก์อาจเรียกค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์มาด้วยตามความเสียหายที่จำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ ซึ่งราคาที่จะคำนวณค่าเสียหายของโจทก์นั้นก็อาจคิดตามราคาที่ดินนั้นซึ่งอาจให้เช่าได้เป็นเดือนละเท่าใด หรือตามราคาท้องตลาดทั่วไป รวมทั้งอาจมีค่าเสียหายในการทำให้ที่ดินกลับเป็นสภาพดังเดิมซึ่งโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องคำนวณมาในฟ้องได้ โดยเมื่อท่านตกเป็นจำเลยในคดีฟ้องขับไล่หรือถูกโจทก์ฟ้องคดีแล้วและเห็นว่าตนเองมีสิทธิอยู่ในที่ดินดังกล่าวได้หรือมีสิทธิดีกว่าโจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการใช้สิทธิทางกฎหมายต่อสู้คดีได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้ท่านควรจะมีหลักฐานเบื้องต้นเพื่อเตรียมการต่อสู้คดีเกี่ยวกับคดีขับไล่ดังต่อไปนี้

พยานหลักฐานที่ท่านต้องเตรียมหากถูกฟ้องขับไล่

  1. โฉนด หรือเอกสารสิทธิต่างๆ ที่ทางราชการออกให้ นอกจากจะเป็นสิ่งที่สามารถยืนยันได้ว่าท่านเป็นเจ้าของที่ดินหรือมีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินดังกล่าวได้ ยังสามารถแสดงให้เห็นถึงการได้มาซึ่งที่ดินของท่านว่ามีการเปลี่ยนมือมาแล้วมากน้อยเพียงใดอันจะทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบย้อนหลังได้
  2. พยานบุคคลที่สามารถอ้างอิงได้ว่าที่ดินดังกล่าวเราได้อาศัยอยู่มานานแล้ว โดยพยานบุคคลที่สามารอ้างอิงได้นั้นอาจเป็นพยานบุคคลที่สามารถยืนยันได้ว่าเราอยู่ในที่ดินมาก่อนมีการออกโฉนด เอกสารสิทธิให้กับโจทก์ เพราะเนื่องจากหลายกรณีที่จำเลยในคดีที่ถูกฟ้องขับไล่นั้นได้อยู่ในที่ดินมาก่อนโดยไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งความจริงแล้วจำเลยหรือบิดามารดาของจำเลยอาจได้อยู่ในที่ดินนั้นมาตั้งแต่ก่อนมีการออกเอกสารสิทธิในที่ดินก่อนหรือก่อนมีการประกาศแนวเขตต่างๆ ของทางราชการก็ได้
  3. สัญญาต่างๆ ที่ให้อาศัยสิทธิอยู่ในที่ดินนั้นๆ แม้จำเลยจะมิได้เป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์ฟ้องขับไล่แต่ในปัจจุบันนี้การครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจไม่จำเป็นจะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิมธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ก็ได้ เช่น จำเลยอาจได้สิทธิมาจากการเช่า สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน เป็นต้น ดังเห็นได้จากพื้นที่เศรษฐกิจที่เป็นทำเลค้าขายดีๆ ก็มักจะมีการเปล่าให้เช่าอยู่เสมอๆ ดังนั้นจำเลยอาจอยู่ในอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาต่างๆ ทางกฎหมาย ได้
  4. หลักฐานการได้มาซึ่งสิทธิ หรือพยานบุคคลที่รู้เห็นในข้อเท็จจริงดังกล่าว

นอกจากนี้การเตรียมหลักฐานการดังกล่าวมาแล้วนั้น ในการต่อสู้คดีขับไล่นั้นก็มีรายละเอียดอื่นๆ อีกแตกต่างกันไปตามลักษณะและประเภทของที่ดินนั้นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าจะมีช่องทางในการต่อสู้คดีอย่างไร แต่ตามที่กล่าวมาในทั้ง 4 ข้อ นี้ เป็นเพียงหลักฐานเบื้องต้นที่ท่านควรจะมีเอาไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการต่อสู้คดีต่อไป

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

 

Facebook Comments