ถูกผู้รับเหมาทิ้งงาน ฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างไรได้บ้าง
กรณีผู้รับเหมาทิ้งงาน ฟ้องร้องหรือดำเนินคดีอย่างไรได้บ้าง
สวัสดีครับ วันนี้ทีมงานทนายวิศวะ ในนามทนายสมยศ ไชยผล หัวหน้าสำนักงาน จะขออนุญาตแนะนำเกี่ยวกับ กรณี ผู้รับเหมาทิ้งงาน
ท่านควรดำเนินคดีอย่างไร บ้างในการการฟ้องร้องต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง
บทนำความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้รับเหมาทิ้งงาน
กรณี ผู้รับเหมาทิ้งงานทีมงานทนายวิศวะ ขออนุญาตแนะนำดังนี้
จ้างทำของและ หลักนิติกรรมและสัญญาทั่วไป
ความหมายของสัญญาจ้างทำของ
สัญญาว่าจ้างทำของ นั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นสาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ มีดังนี้
- สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทน
กล่าวคือ ผู้รับจ้างจะต้องทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างต้อง ให้สินจ้างเพื่อผลงานนั้น ทั้งนี้สินจ้างดังกล่าวอาจเป็นเงินตราหรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน
- สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ
กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างทำของ คือ “ผลสำเร็จของงาน” ไม่ใช่ต้องการ เฉพาะแต่แรงงานของผู้รับจ้างเท่านั้น เช่น จ้างก่อสร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ติดกระจก ซ่อมหลังคาบ้าน จ้างตัดเสื้อผ้า หรือจ้างว่าความ เมื่อไม่ใช่การจ้างแรงงาน นายจ้างจึงไม่ต้อง รับผิดร่วมกับลูกจ้างใน ผลแห่งการละเมิดต่อบุคคลภายนอก ผู้รับจ้างจึงมีอิสระในการทำงาน มากกว่าลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุม บังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงาน หรือบงการผู้รับจ้าง
- สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ
สรุปฟ้องได้หรือไม่ทีมงานทนายวิศวะ ขออนุญาตแนะนำดังนี้
สัญญาจ้างทำของเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาตกลงกัน แม้ด้วยวาจาก็สามารถ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด
ผู้ว่าจ้างอาจเคยเจอปัญหาผู้รับจ้างทิ้งงาน กล่าวคือ มีการเบิกเงินค่างานไปแล้ว แต่ไม่ยอมก่อสร้างงานใดๆให้แล้วเสร็จ ซึ่งย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างได้ ในหลายแง่ เช่น เกิดความเสียหายจากการส่งมอบงานที่ล่าช้า ทำให้งานไม่เสร็จตามที่กำหนดในสัญญา ซึ่งมีผลทำให้ผู้ว่าจ้างต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการที่ผิดสัญญานั้น
และแม้กฎหมายในเรื่องของการจ้างทำของ ไม่ได้กำหนดแบบตามกำหมายไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือสัญญา ลงลายมือชื่อเป็นสำคัญ ซึ่งจะสามารถใช้ฟ้องร้องคดีขึ้นศุ่ศาลได้ แต่ผมเห็นว่า การนี้แม้กฎหมายมิได้กำหนดแบบตามกฎหมายไว้แต่อย่างใด ก็ควรให้ผู้ว่าจ้างควรทำหนังสือสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ลงลายมือชื่อ ให้เรียบร้อย และระบุสาระสำคัญ เช่น กำหนดระยะเวลาการก่อสร้าง , กำหนดว่าหากมีการผิดนัดเกิดขึ้นต้องมีการแสดงความรับผิดชอบจากการผิดนัดส่งมอบงานล่าช้าอย่างไร , แบบการก่อสร้างให้แสดงรายละเอียดการใช้วัสดุ ,การแบ่งจ่ายค่าจ้าง ,จะชำระกันกี่งวด และวันที่เท่าไรบ้าง เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ควรทำเป็นสัญญาแสดงให้ชัดเจน
กรณีที่ผู้รับเหมาทิ้งงานควรทำอย่างไรทีมงานทนายวิศวะ ขออนุญาตแนะนำดังนี้
วิธีแก้และดำเนินคดีทางกฎหมาย กรณีผู้รับเหมาทิ้งงาน
ผู้ว่าจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาได้ และหาผู้รับจ้างรายใหม่เข้ามาทำให้เสร็จทันที หรือบอกเลิกสัญญา
กรณีมีการจ่ายค่างานไปแล้วนั้น
เห็นว่าผู้ว่าจ้างสามารถเรียกเงินค่างานคืนได้ในส่วนที่ผู้รับจ้างเหมาก่อสร้างมิได้ดำเนินการก่อสร้าง เช่น เบิกเงินค่างานไปทั้งหมด ๕๐๐,๐๐๐ บาท ผู้รับเหมาก่อสร้างได้ดำเนินการก่อสร้างเพียง ๒๐๐,๐๐๐ บาท เท่านั้น เช่นนี้ผู้ว่าจ้างมีสิทธเรียกคืนได้จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งผู้ ว่าจ้างต้องหาบุคคลมาประเมินส่วนนี้ด้วย หรือผู้ว่าจ้างสามารถเรียกเงินค่าปรับจากการส่งมอบงานล่าช้าตามที่ตกลงไว้ในสัญญา และในส่วนของค่าเสียหาย ผู้ว่าจ้างสามารถเรียกได้จากความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น ค่าเสียหายจากการที่ผู้ว่าจ้างต้องหาผู้รับเหมารายใหม่ , ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากส่งมอบงานล่าช้า , ค่าเสียโอกาสที่เราได้รับ
กรณีผู้รับเหมาทิ้งงาน หรือกลัวผู้รับเหมาจะทิ้งงงานสามารถแก้ไขได้ด้วยสัญญา อีกส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญ คือการบอกเลิกสัญญารับเหมาก่อสร้าง ผู้ว่าจ้างจะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับเหมาทราบเป็นระยะพอสมควรด้วย
ทีมงานทนายวิศวะ โทร 086-807-5928