Home คดีครอบครัว ออกรถแบบแถมประกันชั้น 1 เกิดอุบัติเหตุบริษัทประกันปฎิเสธความรับผิดได้หรือไม่

ออกรถแบบแถมประกันชั้น 1 เกิดอุบัติเหตุบริษัทประกันปฎิเสธความรับผิดได้หรือไม่

2755

ออกรถแบบแถมประกันชั้น 1 เกิดอุบัติเหตุบริษัทประกันปฎิเสธความรับผิดได้หรือไม่

บทนำกรณีบริษัทประกันปฎิเสธความรับผิดจากการแถมประกัน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะขออนุญาตอธิบายเกี่ยวกับกรณี บทนำกรณีบริษัทประกันปฎิเสธความรับผิดจากการแถมประกัน ศาลฎีกาใช้จุดใดบ้างในการพิจารณาตัดสินคดี และมีจุดสู้คดีที่ต้องระวังอย่างไรบ้าง ซึ่งทีมงานทนายฟ้องประกัน จะวิเคราะห์จุดตัดสินสำคัญในการต่อสู้คดีดังนี้

กรณีที่เวลาผู้เช่าซื้อออกรถแล้วบริษัทแถมประกันประเภทหนึ่งเมื่อเกิดอบุติเหตุ บริษัทมีสิทธิปฏิเสธความรับผิดได้หรือไม่ โดยอ้างว่าผู้เช่าซื้อไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย

คำพิพากษาฎีกาที่เคยตัดสินไว้ 7332/2555

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยชดใช้ค่าเสียหายจํานวน 3,243,324 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,840,556 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์

ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลยชําระเงินจํานวน 2,840,556 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 จนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ ให้จําเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกําหนดค่าทนายความ 30,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี

จําเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จําเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จําเลยรับ ประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 6747 กรุงเทพมหานคร (ป้ายแดง) ซึ่งต่อมาได้รับหมายเลขทะเบียน พห 3355 กรุงเทพมหานคร ระยะเวลาประกันภัย 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2540 ถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2541 ซึ่งระบุว่าโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัย เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2541 ระหว่างอายุสัญญาประกันภัย รถยนต์ คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุเฉียวชนกับรถยนต์หมายเลขทะเบียน พห 8612 กรุงเทพมหานคร ได้รับความเสียหาย โจทก์ชําระค่าซ่อมแซมรถยนต์จํานวน 2,840,556 บาท ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยว่า โจทก์มีอํานาจฟ้องหรือไม่ โดยจําเลยฎีกาว่า โจทก์ ไม่มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัย เห็นว่า ตามตารางกรมธรรม์ระบุว่าทําเอกสารวันที่ 18 มิถุนายน 2540 และมีการชําระเบี้ยประกันในวันดังกล่าว แม้โจทก์ชําระราคารถยนต์คันเกิดเหตุเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันทําสัญญาประกันภัย แต่ก็ได้ความจากนายศักดาตอบทนายจําเลยถามค้านว่า โจทก์ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุจากบริษัทวิวมอเตอร์สปอร์ต จํากัด มีการแถมประกันภัยชั้น 1 ให้ ผู้ชําระเบี้ย ประกันคือนายมนต์ชัย ตัวแทนจําหน่ายของบริษัทวิวมอเตอร์สปอร์ต จํากัด ตามพยานหลักฐานดังกล่าวเชื่อว่า ขณะที่โจทก์ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุจากบริษัทวิวมอเตอร์สปอร์ต จํากัด ได้มีการทําสัญญาประกันภัยกับจําเลย

ผู้รับประกันภัยก่อนแล้วโดยนายมนต์ชัยตัวแทนจําหน่ายของบริษัทวิวมอเตอร์สปอร์ต จํากัด และได้ระบุชื่อ โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัย เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงในการซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับบริษัทวิวมอเตอร์ สปอร์ต จํากัด และนายมนต์ชัยเป็นผู้ชําระเบี้ยประกันภัย ซึ่งขณะนั้นจําเลยย่อมทราบดีว่านายมนต์ชัยตัวแทน จําหน่ายของบริษัทวิวมอเตอร์สปอร์ต จํากัด ได้ทําสัญญาประกันภัยดังกล่าวแทนโจทก์ และจําเลยผู้รับ ประกันภัยยอมผูกพันต่อโจทก์โดยจําเลยระบุชื่อโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ทั้ง ภายหลังเกิดเหตุเมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จําเลยชําระค่าสินไหมทดแทน จําเลยคงปฏิเสธเพียงว่า นาย วิสุทธิ์ ผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดเหตุไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ กรณีเป็นการผิดเงื่อนไข ข้อ 3.92 ตาม ตารางกรมธรรม์ จําเลยจึงไม่สามารถรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ โดยจําเลยมิได้ปฏิเสธว่า ขณะทําสัญญา ประกันภัยโจทก์มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และมิได้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัย พฤติการณ์ดังกล่าว แสดงว่าจําเลยทราบแล้วว่าโจทก์เป็นคู่สัญญากับจําเลย โจทก์จึงมีอํานาจฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาใน ปัญหานี้มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาข้อนี้ของจําเลยฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

สรุป ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดได้

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

Facebook Comments