Home คดีแพ่ง เมื่อผู้รับเหมาผิดสัญญารับเหมาก่อสร้าง ทำอย่างไรได้บ้าง

เมื่อผู้รับเหมาผิดสัญญารับเหมาก่อสร้าง ทำอย่างไรได้บ้าง

6388

เมื่อผู้รับเหมาผิดสัญญารับเหมาก่อสร้าง ทำอย่างไรได้บ้าง

จ้างทำของและ หลักนิติกรรมและสัญญาทั่วไป

บทนำความหมายของสัญญาจ้างทำของ

สัญญาว่าจ้างทำของนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นสาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ มีดังนี้

  1. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทน

กล่าวคือ ผู้รับจ้างจะต้องทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างต้อง ให้สินจ้างเพื่อผลงานนั้น ทั้งนี้สินจ้างดังกล่าวอาจเป็นเงินตราหรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน

  1. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ

กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างทำของ คือ “ผลสำเร็จของงาน” ไม่ใช่ต้องการ เฉพาะแต่แรงงานของผู้รับจ้างเท่านั้น เช่น จ้างก่อสร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ติดกระจก ซ่อมหลังคาบ้าน จ้างตัดเสื้อผ้า หรือจ้างว่าความ เมื่อไม่ใช่การจ้างแรงงาน นายจ้างจึงไม่ต้อง รับผิดร่วมกับลูกจ้างใน ผลแห่งการละเมิดต่อบุคคลภายนอก ผู้รับจ้างจึงมีอิสระในการทำงาน มากกว่าลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุม บังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงาน หรือบงการผู้รับจ้าง

  1. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ

กล่าวคือ สัญญาจ้างทำของเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาตกลงกัน แม้ด้วยวาจากสามารถ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด

–>>กรณี ผู้ว่าจ้างเรียกร้อง เหตุเนื่องจากงานบกพร่อง

1 หากสัญญามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบเพื่อการชำรุดบกพร่องที่ปรากฏภายใน 1 ปีนับแต่วันส่งมอบ หรือที่ปรากฏภายใน 5 ปี ถ้าการที่ทำนั้นเป็นสิ่งปลูกสร้างติดกับพื้นดิน นอกจากโรงเรือนทำด้วยไม้ เว้นแต่ผู้รับจ้างจะปิดบังความชำรุดบกพร่อง

2 อย่างไรก็ตามผู้ว่าจ้างต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ความชำรุดปรากฏขึ้น

3 ถ้าผู้รับจ้างก่อสร้างอาคารส่งมอบอาคารซึ่งมีความชำรุดบกพร่อง ผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงค่าจ้างไว้จนกว่าผู้รับจ้างจะแก้ไขความบกพร่องนั้นให้ดีและเสร็จสิ้น เว้นแต่ผู้รับจ้างจะจัดหาประกันให้ตามสมควร แต่หากไม่ปรากฎความชำรุดบกพร่องแล้ว ผู้ว่าจ้างก็ต้องชำระค่าจ้างในส่วนนี้แก่ผู้รับจ้าง หากยึดหน่วงไว้ย่อมถือได้ว่าผิดนัดชำระหนี้ และต้องรับผิดชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Facebook Comments