ใครบ้างถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัย
ส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัยเป็นสิ่งสำคัญตามกฎหมายซึ่งกฎหมายบังคับไว้ว่าผู้เอาประกันภัยนั้นจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ได้เอาประกันภัยไว้ มิเช่นนั้นจะมีผลให้สัญญาประกันภัยไม่ผูกพันคู่สัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพณิชย์ มาตรา 863 โดยหากผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้ก็อาจทำให้สัญญาดังกล่าวเข้าข่ายเป็นลักษณะของการพนันขันต่อได้ ส่วนได้เสียตามกฎหมายประกัยในมาตรา 863 จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สามารถแยกประเภทของสัญญาประกันภัยกับการพนันขันต่อได้ โดยส่วนได้เสียตามกฎหมายนั้นสามารถแยกอธิบายได้ดังนี้
1.ในกรณีของประกันวินาศภัย คือประกันภัยอย่างใดที่สามารถประมาณเป็นเงินได้ กล่าวคือผู้เอาประกันภัยนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
1.1เจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัยดังจะเห็นได้ว่าหากทรัพย์สินใดๆ เสียหายย่อมทำให้ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่สามารถใช้ทรัพย์สินได้หรืออาจทำให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมราคาลงไปก็ย่อมทำให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเสียหายได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย
1.2สิทธิและประโยชน์ที่กฎหมายรับรอง ผู้มีสิทธิต่างๆ ต่อไปนี้ล้วนถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ผู้ครอบครองทรัพย์ เช่น ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้ยืมทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์ รวมไปถึงผู้มีสิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ และหุ้นส่วนสามัญ
1.3ความรับผิดตามกฎหมาย เช่นผู้มีความรับผิดตามกฎหมายซึ่งต้องรับผิดในชีวิตร่างกาย และทรัพย์สิน รวมถึงความรับผิดในทางละเมิดและทางสัญญา ในกรณีนี้ยังหมายความรวมถึงการประกันภัยค้ำจุนด้วย เช่น ผู้รับขน เป็นต้น ล้วนถือว่ามีส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัย
2.กรณีของประกันชีวิต กล่าวคือสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จํานวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ
หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง ในส่วนของการเอาประกันชีวิตของตนเองก็ย่อมถือว่ามีส่วนได้เสียอยู่แล้วเนื่องจากการทรงชีพของผู้เอาประกันภัยย่อมถือว่ามีส่วนได้เสียอยู่แล้ว รวมทั้งกรณีที่แม้จะมิใช่การเอาประกันภัยในตัวผู้เอาประกันก็ตามก็อาจสามารถเอาประกันได้หากมีส่วนได้เสียกันดังนี้
2.1กลุ่มที่อาศัยความสัมพันธ์ทางครอบครัวในการเอาประกันภัย จึงจถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ระหว่างบุพการีกับผู้สืบสันดาน สามีกับภรรยา ญาติพี่น้อง คู่มหมั้น เป็นต้น ย่อมถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัยระหว่างกัน
2.2กลุ่มที่อาศัยความสัมพันธ์ทางธุรกิจ หรือมูลหหนี้ต่างๆ เช่น นายจ้างกับลูกจ้าง เจ้าหนี้กับลูกหนี้ หุ้นส่วนกับหุ้นส่วนด้วยกัน
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th