Home คดีครอบครัว ระยะเวลาในการร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ต้องร้องก่อนเมื่อใด

ระยะเวลาในการร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ต้องร้องก่อนเมื่อใด

3054

ระยะเวลาในการร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ต้องร้องก่อนเมื่อใด

สวัสดีครับท่านผุ้อ่านทุกท่านวันนี้ทีมงานทนายกฤษดา จะมาแนะนำเกี่ยวกับ ระยะเวลาในการร้องขอถอนผุ้จัดการมรดกต้องถอนเมื่อใด และมีวิธีการอย่างไร

1.ก่อนอื่นเราต้องรู้เสียก่อนว่า ผู้จัดการมรดก คือใคร มีอำนาจหน้าที่อย่างไร

มรดก ได้แก่ ทรัพย์ทุกชนิด  รวมทั้งสิทธิหน้าที่ และความรับผิดต่างๆ ของผู้ตายหรือผู้ถึงแก่กรรม ซึ่งผู้ตายมีอยู่ก่อน ในขณะที่ถึงแก่ความตาย  เว้นแต่ว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

2ผู้จัดการมรดก คือ บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้ง เพื่อทำหน้าที่รวบรวมทรัพย์สิน และแบ่งมรดกให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก

3คุณสมบัติผู้จัดการมรดก

๑.บุคคลที่บรรลุนิติภาวะ อายุ  ๒๐ ปีบริบูรณ์

๒.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

๓.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

อำนาจของผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการมรดก มีสิทธิและหน้าที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อจัดการมรดกทั่วไป และมีหน้าที่รวบรวมมรดก เพื่อแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยธรรม ตลอดจนชำระหนี้สินของเจ้ามรดกแก่เจ้าหนี้ ทำบัญชีมรดกและรายการแสดงบัญชีการจัดการ โดยต้องจัดการไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่มรดก  จะทำนิติกรรมใดๆ ที่เป็นปรปักย์ต่อการจัดการมรดกไม่ได้

หากผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ เช่น  ปิดปังมรดกต่อทายาท หรือเพิกเฉยไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก หรือผู้มีส่วนได้เสีย จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดกก็ได้

4หน้าที่ของผู้จัดการมรดก

เริ่มนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง

๑.จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก ภายใน ๑๕ วัน และต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน ๑ เดือน   หากไม่เสร็จขอศาลขยายได้   ๑  เดือน

๒.ต้องจัดการทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งมรดกทายาททั้งหมด ให้แล้วเสร็จภายใน ๑ นับแต่ศาลมีคำสั่ง หรือ กำหนดเป็นอย่างอื่น

๓.ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิรับบำเหน็จจากกองมรดก เว้นแต่โดยพินัยกรรมหรือทายาทเสียงข้างมากจะได้กำหนดไว้

๔.จะทำพินัยกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปรปักย์ต่อกอวมรดก เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตจากศาล

๕.ผู้จัดการมรดกต้องจัดการมรดกด้วยตนเอง

5เหตุขอถอนผู้จัดการมรดก และตั้งผู้จัดการมรดกแทน

๑.ละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ เช่น  มิได้ทำบัญชีทรัพย์ ให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนดและตามแบบบที่กำหนดไว้ หรือไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในเวลาที่สมควร

๒.มีเหตุอย่างอื่นที่สมควรถอนผู้จัดการมรดก เช่น ผู้จัดการมรดกมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต

6อายุความจัดการมรดก

ห้ามมิให้ทายาทฟ้องเกิน ๕ ปี  นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุด ตามมาตรา  ๑๗๓๓  วรรคสอง

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments