Home คดีครอบครัว ล้อรถยนต์หลุดกระเด็นไปโดนผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ต้องรับผิดหรือไม่.

ล้อรถยนต์หลุดกระเด็นไปโดนผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ต้องรับผิดหรือไม่.

3636

ล้อรถยนต์หลุดกระเด็นไปโดนผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ต้องรับผิดหรือไม่.

โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 เป็นสามีของนางลาวัลณ์ จารุสิริวัฒน์ มีบุตรด้วยกัน4 คน คือ นายพันธุ์ศักดิ์ นางสาวนวลวรรณ เด็กชายนัฐพงศ์ และเด็กชายอำนาจซึ่งต่างเป็นผู้เยาว์ จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 2และที่ 3 เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน 1 บ-6377เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2523 จำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้ขับขี่รถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวมุ่งหน้าไปทางคลองสานด้วยความเร็วสูง เมื่อถึงบริเวณปากซอยราษฎร์ร่วมเจริญ ลูกล้อรถยนต์บรรทุกคันนั้นด้านหน้าข้างซ้ายได้หลุดออกจากตัวรถแล้วกระเด็นกระดอนไปตามแรงเหวี่ยงไปถูกศีรษะนางลาวัลย์ได้รับอันตรายจนถึงแก่ความตาย ทั้งนี้โดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1และจำเลยทั้งสามมิได้ตรวจตรารถให้อยู่ในสภาพดี เป็ฯเหตุให้เงินสดที่ติดตัวนางลาวัลณ์ 30,000 บาทเศษหายไป โจทก์ที่ 1 เสียค่าปลงศพเป็นเงิน 30,000 บาทและขาดการอุปการะจากผู้ตายเดือนละ 1,000 บาท คิดเพียง 10 ปีเป็นเงิน120,000 บาท สำหรับบุตร 4 คนซึ่งเป็ฯผู้เยาว์คนละ 700 บาทต่อเดือน คิดแต่วันละเมิดถึงวันที่บรรลุนิติภาวะรวมเป็นเงิน 316,500 บาท และดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องคิดเพียง 1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น317,500 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในจำนวนเงิน 316,500 บาทนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้จ้างวานหรือใช้จำเลยที่ 1 ขับรถไปในที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ประมาทแต่เป็นเหตุสุดวิสัย รถคันเกิดเหตุเป็นรถใหม่ได้รับการตรวจตราบำรุงรักษาตลอดเวลาและผ่านการตรวจสภาพจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว ล้อรถหลุดเนื่องจากเพลาหัก รถดังกล่าวแล่นด้วยความเร็วปกติล้อรถวิ่งเร็วกว่าตัวรถเพราะแรงเหวี่ยง หากนางลาวัลณ์ใช้ความระมัดระวังตามปกติเพียงเอี้ยวตัวเล็กน้อยก็จะไม่ได้รับอันตราย โจทก์เรียกค่าเสียหายมากเกินความจริงนางลาวัลณ์ไม่มีรายได้อะไร โจทก์จึงไม่ขาดไร้อุปการะ ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 3 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์และไม่ได้ควบคุมรถคันเกิดเหตุ ไม่ได้จ้างวานหรือใช้จำเลยที่ 1 ขับรถคันดังกล่าว โจทก์ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายตามฟ้อง โจทก์ไม่เคยได้รับอุปการะเลี้ยงดูจากนางลาวัลณ์ ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 2 ขอให้เรียกบริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด ซึ่งรับประกันภัยรถคันเกิดเหตุ เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต บริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด จำเลยร่วมให้การว่า โจทก์ที่ 1 ได้หย่าร้างกับนางลาวัลณ์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย โจทก์ที่ 2 ทั้งส่คนไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนางลาวัลณ์ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 เหตุที่ล้อรถหลุดจำเลยร่วมให้การทำนองเดียวกับจำเลยที่ 2 โจทก์เรียกค่าเสียหายมาเกินความจริงนางลาวัลณ์มีเงินสดไม่เกิน 100 บาท ค่าปลงศพไม่เกิน 10,000 บาท นางลาวัลณ์ไม่ได้ประกอบอาชีพ โจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดไร้อุปการะ หากต้องรับผิดก็รับผิดตามเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัยไม่เกิน 25,000 บาท ค่าเสียหายไกลเกินกว่าเหตุขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทและไม่ตรวจตราสภาพรถให้เรียบร้อย เป็นเหตุให้ล้อหลุดชนนางลาวัลณ์ถึงแก่ความตายรถคันเกิดเหตุเป็นของจำเลยที่ 2 แต่ให้นิติบุคคลอื่นเช่าไป และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของนิติบุคคลที่เช่ารถคันเกิดเหตุนั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 และจำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 130,000 บาท และดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดถึงวันฟ้อง 1,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จกับให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความ 2,000 บาทแทนโจทก์ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความสมควรเป็นพับ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ขอให้จำลเยที่ 2 ที่ 3 และจำเลยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 130,000 บาท และให้จำเลยร่วมรับผิดเป็นเงิน 100,000 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2523 จนกว่าจะชำระเสร็จให้จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมสองศาลแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความรวม 3,000 บาท ค่าขึ้นศาลให้ใช้เท่าที่โจทก์ชนะ ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 เป็นพับ นอกจากที่แก้คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาขอให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาเป็นประการแรกว่า แม้รถยนต์คันเกิดเหตุจะเป็นของบริษัทจำเลยที่ 2 แต่ขณะเกิดเหตุรถยนต์ไม่ได้อยู่ในความครอบครองของบริษัทจำเลยที่ 2 เพราะบริษัทจำเลยที่ 2ได้ให้บริษัทสยามกว้างไพศาลมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เช่าไปก่อนเกิดเหตุนั้นจำเลยที่ 2และจำเลยร่วมไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ส่วนที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธไว้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้าง จำเลยย่อมนำสืบได้ว่ารถคันเกิดเหตุไม่ได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยเพราะให้บริษัทสยามกว้างไพศาลมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เช่าไป ไม่เป็นการนำสืบนอกคำให้การได้ความตามคำให้การจำเลยที่ 2 เพียงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้จ้างวานหรือใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ และได้ความตามคำให้การจำเลยร่วมว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถคันเกิดเหตุไปในทางการที่ว่าจ้างหรือมอบหมายจากจำเลยที่ 2ที่ 2 แต่ประการใด จึงไม่ปรากฏข้อความตามคำให้การของจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมดังที่จำเลยฎีกา จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาประการต่อมาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัญหานี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ทั้งสองกรณี ส่วนจำเลยร่วมไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แล้วศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาประการต่อมาว่าเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากล้อรถคันเกิดเหตุหลุด ซึ่งเกิดจากเหตุสุดวิสัยไม่อาจป้องกันได้ ทั้งที่ผู้ขับขี่ได้ใช้ความระมัดระวังแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า รถคันเกิดเหตุวิ่งมาด้วยความเร็วสูงเมื่อถึงที่เกิดเหตุล้อหลุดกระเด็นไปไกลถึง 100 เมตร ถูกนางลาวัลณ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมจึงไม่อาจอ้างได้ว่าผู้ขับขี่รถคันเกิดเหตุได้ใช้ความระมัดระวังแล้ว ส่วนที่จำเลยอ้างว่าเหตุเกิดจากเหตุสุดวิสัยนั้น เห็นว่าหากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถและเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถคันเกิดเหตุได้ใช้ความระมัดระวังตรวจตราถึงความสมบูรณ์ของรถก่อนให้จำเลยที่ 1 ใช้รถ เหตุก็ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนั้นเหตุที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด ที่จะเป็นเหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม เหตุที่เกิดขึ้นจึงต้องถือว่าเป็นความประมาทของจำเลยที่ 1 ส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาว่านางลาวัลณ์ผู้ตายไม่มีรายได้ โจทก์จึงไม่ขาดไร้อุปการะ หากเสียหายจริงก็ไม่ควรเกิน10,000 บาท นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 วรรคสอง ซึ่งตรวจชำระใหม่ บัญญัติว่า “สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน” และมาตรา 1564 วรรคแรกบัญญัติว่า “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์” กับมาตรา 443 วรรค 3 บัญญัติว่า “ถ้าเหตุที่ตายลงนั้นทำให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายด้วยไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” ตามบทบัญญัติสามมาตราดังกล่าวย่อมถือได้ว่า การที่นางลาวัลณ์ตายลง ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า นางลาวัลณ์ผู้ตายจะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ทั้งสองต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง จำเลยร่วมฎีกาเป็นประการสุดท้ายว่า ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.1จำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้ 25,000 บาทต่อหนึ่งคนและ 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพียง25,000 บาท เห็นว่า กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อจำกัดความรับผิดตามที่จำเลยร่วมฎีกาดังนั้น เมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้ มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคน จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 25,000 บาท ข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง หมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่ง มีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน 100,000 บาท แต่ไม่หมายความว่า จำเลยร่วมจะต้องรับผิดจนเต็มจำนวน 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง แม้จะมีผู้ได้รับความเสียหายเพียงคนเดียวดังเช่นในคดีนี้ ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1182/2526 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยร่วมร่วมรับผิดต่อโจทก์เป็นเงิน 25,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในจำนวนเงินดังกล่าวตั้งแต่วันที่8 ตุลาคม 2523 จนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จ แต่ดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น นับแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องไม่ให้เกิน 1,000 บาทตามที่โจทก์ขอมา ให้จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมใช้ค่าทนายความในชั้นฎีกา2,000 บาท แทนโจทก์ทั้งสอง นอกจากที่แก้คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

สรุป

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่2และที่ 3จำเลยที่2เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่3เป็นกรรมการจำเลยที่1กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่2และที่3ขับรถยนต์ด้วยความประมาทล้อรถยนต์หลุดไปชนนางล.ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2ให้การว่าจำเลยที่2ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่1ขับรถไปในที่เกิดเหตุจำเลยที่1ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยร่วมให้การว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่2ที่3ดังนี้ข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่2ให้บริษัทก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุและข้อที่จำเลยที่2ฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่2กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่2นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตามเมื่อได้ความว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป100เมตรนางล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันทีและได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้วแต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษาเหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ดังนี้ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่1มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด การที่นางล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านางล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง กรมธรรม์ประกันภัยจำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้25,000บาทต่อหนึ่งคนและ100,000บาทต่อหนึ่งครั้งเมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคนจำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง25,000บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า100,000บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน100,000บาท.

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments