รวมคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจคดีรับเหมาก่อสร้าง
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านวันนี้ ทีมงานทนายวิศวะโดยทนายสมยศ ไชยผล หัวหน้าสำนักงานจะมาขออธิบายเกี่ยวกับ ในกรณีที่มีการว่าจ้างก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างบ้าน หรือก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ น่าจะมีปัญหาที่พบบ่อยๆๆ เช่น ทำผิดแบบ ทำล่าช้า
หากเกิดกรณีผู้รับเหมาทิ้งงาน ผู้ว่าจ้างก็ต้องมีหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา และต้องจ้างผู้รับเหมารายอื่นเข้ามาทำงานต่อ ซึ่งทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ก็มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอากับผู้รับเหมารายเดิม
แต่หากเป็นกรณีผิดแบบ ผู้ว่าจ้างต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างแก้ไขให้เรียบร้อยตามหลักการวิศวกรรมการก่อสร้าง กล่าวคือ หากไม่มีความรู้ด้านก่อสร้างเห็รควรว่าควรจ้างวิศวควบคุมอาคาร
หากเป็นกรณีทำงานล่าช้า ต้องพิจารณาเหตุผลแห่งการล่าช้านั้น เป็นเพราะเหตุใด เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ เป็นเหตุยกเว้นในสัญญาหรือไม่ อาจเป็นเหตุให้บอกเลิกสัญญาได้
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีการก่อสร้าง
๑.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่อง จ้างทำของ
๒.พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ ๒๕๒๒
๓. ฯลฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจ
การเลิกสัญญาก่อสร้าง
เมื่อมีการผิดสัญญา แม้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ได้ก็ตาม คู่สัญญาฝ่ายนั้นอาจไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก็ได้ แต่มีสิทธิฟ้องบังคับให้ปฎิบัติตามสัญญาได้ ตาม มาตรา ๒๑๓ วรรค ๑ และเรียกค่าเสียหายได้ ตามมาตรา ๒๑๓ วรรคท้าย (ฎ.๖๗๐๕/๒๕๔๑)
แต่ถ้าใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามมูลหนี้อีกไม่ได้ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหาย (ฎ.๒๕๖๘/๒๕๒๑ , ๙๘๒/๒๕๑๓ (ป) )
กรณีตกลงกันให้เลิกสัญญาโดยไม่มีสิทธิ แม้คู่สัญญาอีกฝ่ายจะไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน การบอกเลิกสัญญาก็ไม่ทำให้สัญญาเลิกกัน ( ฎ.๔๗๖๕/๒๕๔๙ )
เมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วถอนไม่ได้ (ฎ.๑๙๐๐/๒๕๔๒ )
การบอกเลิกสัญญา ตามมาตรา ๓๘๗
กรณีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาได้ ต้องบอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ภายในระยะเวลาพอสมควรก่อน จะบอกเลิกสัญญาในทันทีไม่ได้
แม้การเลิกสัญญาไม่ชอบด้วย มาตรา ๓๘๗ แต่การที่ต่างฝ่ายต่างบอกสัญญา ถือว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย (ฎ.๒๕๖๙/๒๕๕๖ )
การบอกเลิกสัญญาตามมาตรา ๓๘๘
กรณีที่กำหนดเวลาชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนด หากอีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลากำหนดซึงเป็นสาระสำคัญ อีกฝ่ายบอกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าว (ฎ.๒๗๙๑/๒๕๒๔ )
ผลการบอกเลิกสัญญา
เมื่อได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว จะมีผลตามมาตรา ๓๙๑ กล่าวคือคู่สัญญาแต่ละฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิม
ผู้ว่าจ้างต้องชดใช้ค่าก่อสร้าง ที่ผู้รับจ้างทำไปแล้ว จะให้ผู้รับจ้างรื้องานที่ทำไปแล้วไม่ได้ (ฎ.๑๗๕/๒๕๒๑ ,๓๓๒๒/๒๕๒๘ )
ข้อตกลงสละสิทธิค่าแห่งการงานมีผลบังคับได้ (ฎ.๒๑๖๕/๒๕๕๖ )
การกำหนดค่าของงานที่ต้องชดใช้แก่กัน ต้องพิจารณาจากมูลค่าของงานที่ทำให้ตามความเป็นจริง จะยึดเอาค่างานที่ต้องชำระตามงวดงานในสัญญาเป็นมาหลักเกณฑ์อีกไม่ได้ เพราะในสัญญาอาจกำหนดที่ไม่ใช่ค่าของงานลงไปด้วย ( ฎ.๗๖๑๘/๒๕๕๒ )
เมื่อบอกสัญญาโดยชอบ สิทธิและหน้าที่ตามสัญญา ซึ่งเป็นอันสิ้นสุดลงไป คู่สัญญาจะฟ้องร้องบังคับให้ปฎิบัติตามสัญญาอีกไม่ได้ (ฎ.๕๓๖๓/๒๕๔๕ ,๒๔๓๑/๒๕๕๒ )
ถ้าต้องใช้เงินคืนให้แก่กันให้บวกดอกเบี้ย หากไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญา ให้คิดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕๐ ต่อปี มาตรา ๓๙๑ วรรค ๒ มาตรา ๗ ( ฎ.๑๓๗๘/๒๕๔๖ )
เมื่อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้อีก ตามมาตรา ๓๙๑ วรรค ๔ กล่าวคือ ไม่ลบล้างความรับผิดที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นจากการที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ( ฎ.๒๙๕๖/๒๕๔๘ )
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายวิศวะ
โทรโทร 086-807-5928
อ่านบทความเพิ่มเติม https://www.englawyers.com/