คำว่า “การแจ้งเหตุให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า” หมายถึง ผู้ขับขี่หรือผู้เอาประกันภัย จะต้องแจ้งให้บริษัทผู้รับประกันภัยทราบถึงเหตุแห่งความสูญหายหรือเสียหายหรือความรับผิดตามกฏหมายที่เกิดขึ้นในทันทีที่สามารถแจ้งได้ เพื่อให้บริษัทได้ทำการตรวจสอบความเสียหายที่แท้จริงและหรือปกป้องความเสียหายที่เกิดขึ้น มิให้ความเสียหายขยายหรือเพิ่มขึ้นได้ 

เป็นการกําหนดหน้าที่ให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นโดยจะต้องแจ้งอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้ารวมถึงการนัดหมายของพนักงานสอบสวน การนัดหมายเจรจาค่าสินไหมทดแทน กับคู่กรณี การส่งหนังสือทวงถาม หรือหมายเรียกสําเนาคําฟ้องให้แก่บริษัท เมื่อผู้เอาประกันภัยถูกทวงถามให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือถูกฟ้องต่อศาลต้องแจ้งให้บริษัททราบด้วยเพื่อให้บริษัทได้ทําการตรวจสอบความเสียหายที่แท้จริง และ/หรือปกป้องความเสียหายที่เกิดขึ้นมิให้ความเสียหายขยายหรือเพิ่มขึ้นได้ และเพื่อให้บริษัทเข้ามาดูแลรักษาสิทธิ อันพึงมีพึงได้ของทั้งสองฝ่ายและดําเนินการอันจําเป็นเพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายต่อไป
การแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า หมายถึง ผู้ขับขี่หรือผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งให้บริษัทผู้รับประกันภัย ทราบถึงเหตุแห่งความเสียหายหรือความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดขึ้น ในทันทีที่สามารถแจ้งได้ เช่น
กรณีที่รถคันเอาประกันภัยไปเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถคู่กรณีเกิดความเสียหายทั้งสองฝ่าย เมื่อพนักงาน สอบสวนหรือคู่กรณีมีการนัดหมาย ผู้ขับขี่ และ/หรือ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้บริษัททราบก่อนวันเวลานัดหมาย เพื่อให้บริษัทเข้ามาดูแลรักษาสิทธิอันพึงมีพึงได้ของทั้งสองฝ่าย และดําเนินการอันจําเป็นเพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายต่อไป

กล่าวโดยสรุป

แต่อย่างไรก็ตามการแจ้งเหตุล่าช้าไม่เป็นเหตุให้บริษัทปฏิเสธความรับผิดได้ แต่หากบริษัทได้รับความเสียหาย เนื่องจากการแจ้งเหตุล่าช้านั้น บริษัทสามารถเรียกร้องจากผู้เอาประกันภัย และ/หรือ ผู้ขับขี่นั้นได้ ซึ่งการตีความนี้ เป็นไปในลักษณะเดียวกับบทบัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 881

สำนักงานทนายฟ้องประกัน
มีปัญหาคดีความโทรปรึกษา โทร 061-939-9935

 

 

 

 

Facebook Comments