สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะมาขอแนะนำประเด็นข้อกฎหมายในประเด็นที่ว่า “ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” มีผลอย่างไรเชิญอ่านได้เลยครับ
ประมาทร่วม คืออะไร
คำว่า “ประมาทร่วม” ในทางกฎหมายนั้นจะใช้คำว่า “ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” ซึ่งหมายถึง ความประมาทที่ไม่มีตัวการร่วม (ไม่ได้เจตนา) หรือไม่มีการร่วมกันประมาทใด สิ่งที่ถูกต้องก็คือต้องดูว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายประมาทมากกว่ากัน “ไม่มีคำว่าประมาทร่วมในกฎหมาย” จะมีแค่ใครประมาทมากกว่ากัน และต้องรับผิดชอบมากน้อยตามความประมาทที่ทำให้เกิดความเสียหายนั่นเอง
ในปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าประมาทร่วม คือต่างฝ่ายต่างผิด ความประมาทเท่า ๆ กัน
คำว่าประมาทร่วม หมายถึง ต่างฝ่ายต่างมีความประมาทไม่น้อยไปกว่ากัน นั่นแปลว่าทั้งคู่มีส่วนผิดนั่นเอง
เมื่อพนักงานสอบสวนมีความเห็นให้เป็น ประมาทร่วม ก็ต้องมาดูต่อว่าประกันที่มีเป็นประกันชั้นไหน
เพิ่มเติม กรณีความเห็นในชั้นพนักงานสอบสวน กรณีที่พนักงาน สอบสวนมีความเห็นว่าผู้ตายซึ่งเป็นผู้ขับขี่รถคู่กรณีมีส่วนประมาทร่วมด้วยแม้ เป็นเพียงความเห็นพนักงานสอบสวน กรณีนี้ทายาทของผู้ตายจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้
ยกตัวอย่าง
นาย A ขับรถย้อนศร ชนกับรถนาย B ขับรถมาด้วยความเร็วสูง พนักงานสอบสวนมีความเห็นให้เป็น ประมาทร่วม ดังนั้น นาย A และ นาย B จะต้องจ่ายค่าซ่อมที่เกิดขึ้นทั้งหมดด้วยตัวเอง
กรณีมีประกันชั้น 1 สามารถเคลมประกันได้ปกติ
กรณีเป็นประกันชั้น 2+ หรือ 3+ ก็ยังสามารถเคลมได้ เพิ่มเติมคือนำสำเนารายงานประจำวัน ไปแจ้งเคลมกับบริษัทประกัน
กรณีมีประกันชั้น 2 หรือ 3 ประกันจะไม่จ่ายอะไรเลย คุณต้องซ่อมรถเองเท่านั้น
กรณีไม่มีประกัน คุณก็ยังใช้สิทธิจาก พ.ร.บ. ได้ แต่จะได้เฉพาะค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 2172/2554
การ ที่จำเลยถูกฟ้องว่าขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้มีผู้อื่นถึงแก่ความตายและ ได้รับอันตรายสาหัส แม้พนักงาน สอบสวนจะมีความเห็นว่า ผู้ตายมีส่วน ประมาทร่วมอยู่ด้วยแต่ผู้ตายถึงแก่ ความตายไปก่อนก็เป็นเพียงความเห็น ของพนักงานสอบสวนเท่านั้น ไม่เป็น เหตุที่ต้องห้ามมิให้ภริยาของผู้ตายจะ ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงาน อัยการไม่ได้
กล่าวโดยสรุป
“ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน”
คือ ต่างฝ่ายต่างมีความประมาทไม่น้อยไปกว่ากัน นั่นแปลว่าทั้งคู่มีส่วนผิดนั่นเอง