ตัวแทนประกัน ตามกฎหมายต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
เนื่องจากกฎหมายการรับประกันชีวิตเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากและเกี่ยวพันถึงประชาชนในสังคม รวมทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศ กฎหมายจึงต้องบัญญัติอย่างชัดแจ้งมิให้ผู้ใดทำการเป็นผู้รับประกันภัยโดยทำสัญญาประกันชีวิตกับบุคคลใดๆ จนกว่าจะได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง ในกรณีของตัวแทนประกันชีวิตก็เช่นกัน การที่จะดำเนินการในลักษณะตัวแทนประกันชีวิติได้ก็จะต้องมีใบอนุญาตเสียก่อน เพราะการรับประกันชีวิตเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากและเป็นกิจการที่รัฐควบคุม ดังนั้นในการเป็นตัวแทนในการรับประกันชีวิต ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการควบคุมจากรัฐเช่นกันเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ให้แก่คนในสังคมและเป็นการควยคุมความเรียบร้อยในการดำเนินกิจการของบริษัทผู้รับประกันชีวิต โดยลักษณะของตัวแทนประกันชีวิตมีดังนี้
ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 นั้น ตามมาตรา 68 นั้น ผู้ใดจะกระทำการเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือนายนายหน้าประกันชีวิตต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เท่านั้น หากผู้ใดฝ่าฝืนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ตามที่กล่าวมานี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1.ตัวแทนประกันชีวิต
ตามมาตรา 69 ได้กำหนดคุณสมบัติของตัวแทนประกันชีวิตไว้ดังนี้
(1) มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) บรรลุนิติภาวะ
(ข) มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
(ค) ได้รับการศึกษาวิชาประกันชีวิตตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยประกาศกำหนด หรือสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตได้ตามหลักสูตรวิธีการ และเงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยประกาศกำหนด
(2) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(ข) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระโดยทุจริต เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก่อนวันยื่นคำขอรับใบอนุญาต
(ค) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(ง) เป็นนายหน้าประกันชีวิต
(จ) อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต หรือใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย
(ฉ) เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต หรือใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย และยังไม่พ้นกำหนดห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาต
(ช) มีประวัตเสียหายหรือประวัติที่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ลักษณะสำคัญของตัวแทนประกันชีวิตอีกประการหนึ่งก็คือ กฎหมายอนุญาตให้ผู้ที่เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทใดอยู่แล้ว อาจขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทอื่นอีกได้ จะต่างกัยกรณีของนายหน้าประกันชีวิต
มีปัญหาคดีความปรึกษษทีมงาานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th