Home บทความ ต้นไม้รุกลำ้ไปในบ้านหรือที่ดินผู้อื่น มีผลอย่างไรทางกฎหมาย

ต้นไม้รุกลำ้ไปในบ้านหรือที่ดินผู้อื่น มีผลอย่างไรทางกฎหมาย

2791

ต้นไม้รุกลำ้ไปในบ้านหรือที่ดินผู้อื่น มีผลอย่างไรทางกฎหมาย

ประเด็น

1.ต้นไม้ที่ล้ำไปในที่ดินของผู้อื่น

ปัญหาสำคัญที่มักเกิดขึ้นบ่อยเกี่ยวกับเพื่อนบ้านกันคือปัญหาจากการปลูกต้นไม้ ที่แม้ต้นไม้ของเจ้าของที่ดินข้างบ้านจะได้ปลูกต้นไม้ลงในที่ดินของตนเองแต่ก็มีส่วนต่างๆ ของต้นไม้ไม่ว่าจะเป็น รากต้นไม้ ก้าน ใบ ดอก ผล เป็นต้น ยื่นล้ำมายังบ้านของเราซึ่งอาจทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญไปจนถึงความเสียหายกับบ้านของเราได้ โดยตามกฎหมายแล้วได้มีการบัญญัติคุ้มครองบ้านข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบจากการที่ต้นไม้ยื่นล้ำมาอยู่ รวมถึงมีการให้สิทธิบางประการแก่บ้านที่ถูกต้นไม้ยื่นล้ำเข้ามาด้วย ซึ่งสามารถพิจารณาตามกฎหมายได้ดังนี้

กรณีที่ 1 รากไม้ และกิ่งไม้

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1347  เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้

จากบทบัญญัติข้างต้นสามารถแยกได้เป็น 2 ข้อ ดังนี้

1.รากไม้ที่มีการล้ำเข้ามาที่ดินของเรา เราก็ชอบที่จะตัดรากไม้นั้นได้

2.หากเป็นกิ่งไม้ จะต้องบอกให้ผู้ครอบครองที่ดินที่มีกิ่งไม้ยื่นล้ำ ตัดเองก่อนภายในเวลาอันสมควร หากผู้ครอบครองที่ดินนั้นไม่ยอมตัด เราจึงจะสามารถตัดเองได้

กรณีที่ 2 กรณีที่ต้นไม้อยู่บนแนวเขต

กรณีนี้มีกฎหมายบัญญัติในมาตรา 1346 โดยในกรณีตามมาตรา 1346 ไม่จำเป็นว่าว่าต้องเป็นกรณีที่ต้นไม้อยู่บนกึ่งกลางของที่ดินเท่านั้นแม้ต้นไม้ล้ำไปด้ายไหนมากกว่าแต่ยังอยู่บนแนวเขตก็ถือเป็นกรณีนี้ด้วย ซึ่งตามมาตรา 1346 เป็นบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานว่าต้นไม้บนแนวเขตเป็นของเจ้าของที่ดินทั้งสองร่วมกันรวมทั้งมีสิทธิในส่วนของดอกผลด้วย ส่วนถ้าต้องการจะขุดหรือตัดต้นไม้ที่อยู่บนแนวเขตก็ต้องดำเนินการตามมาตรา 1346 วรรคสอง

          กรณีที่ 3 ดอกผลที่ยื่นล้ำเข้ามา

ตามมาตรา 1348  ดอกผลแห่งต้นไม้ที่หล่นตามธรรมดาลงในที่ดินติดต่อแปลงใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น

ตามหลักทั่วไปแล้วผู้เป็นเจ้าของดอกผลก็คือผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 148 แต่ในกรณีที่ดอกผลตกลงในที่ของผู้อื่นกฎหมายให้สันนิษฐานว่าดอกผลเป็นของเจ้าของที่ดินที่ดอกผลนั้นตกอยู่ (คำว่าสันนิษฐานตามกฎหมายมิใช่กรณีเด็ดขาด สามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่าเป็นอย่างอื่นได้)

กรณีที่ 4 ความเสียหายที่เกิดขึ้น

หากต้นไม้นั้นทำให้เกิดความเสียหาย เจ้าของต้นไม้ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นก็ย่อมต้องรับผิดต่อผู้นั้น หากเป็นกรณีละเมิดก็ย่อมต้องรับผิดตาม 420 หรือ 434 วรรคสอง ได้ แม้จะอ้างว่าเป็นต้นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติก็ต้องถือว่ายังเป็นทรัพย์ของผู้นั้นตามหลักของส่วนควบ

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายวิศวะ

โทรโทร 086-807-5928

อ่านบทความเพิ่มเติม https://www.englawyers.com/

 

 

Facebook Comments