สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร ทำไมถึงต้องมี เชิญอ่านได้เลยครับ

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร

พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่เรียกกันว่า ประกันรถยนต์ภาคบังคับ( Car Act )เพราะเป็นสิ่งที่ให้การประกันภัยต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถ หลักๆจะได้แก่ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก โดยจะให้การชดเชยเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม เช่น ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น

“พ.ร.บ.” คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์มีอายุความคุ้มครองแค่ 1 ปี เมื่อ พ.ร.บ.ขาด ก็ต้องทำการ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประจำทุกปี การไม่ต่อพ.ร.บ จะมีโทษปรับและผลต่างๆ ดังนี้

1. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ผู้ใดที่นำรถยนต์ที่ ไม่มีพ.ร.บ.รถยนต์ มาใช้ขับขี่บนท้องถนน จะมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท

2. จะต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้
รถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ ประจำปีได้ เพราะต้องใช้เอกสาร กรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์ ในการต่อภาษีรถยนต์

3. อาจถูกระงับป้ายทะเบียน(หยุดใช้รถอัตโนมัติ)
หากรถยนต์คันใดไม่ได้ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์นานเกิน 3 ปี จะทำให้ป้ายทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ ต้องทำเรื่องขอจดทะเบียนรถใหม่และต้องชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลัง

4. ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์
ในกรณีที่รถยนต์คันที่ ไม่มีพ.ร.บ.รถยนต์ เกิดอุบัติเหตุ แล้วมีผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอกได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่จะชีวิต จะไม่สามารถเรียกร้องความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ได้ ยกเว้นในกรณีที่เป็นอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณีและผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ของคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้

พ.ร.บ. เคลมอะไรได้บ้าง

1. ค่าเสียหายเบื้องต้น
สามารถเคลมได้เลยโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ได้แก่

บาดเจ็บ กรณีที่ได้รับการบาดเจ็บจากการขับขี่รถยนต์ สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ โดยทาง พ.ร.บ. จะจ่ายตามที่ได้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน และหากในระยะเวลาต่อมา เกิดการทุพพลภาพหรือพิการ ทางบริษัทประกันฯ ก็จะจ่ายให้อีก แต่รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

ทุพพลภาพ กรณีที่เกิดการทุพพลภาพหรือพิการทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ ก็สามารถเคลมค่าเสียหายได้ แต่ทาง พ.ร.บ. จะจ่ายค่าเสียหายในเบื้องต้นให้ไม่เกินจาก 35,000 บาทต่อคน

เสียชีวิต กรณีที่เสียชีวิตทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทาง พ.ร.บ. จะจ่ายเงินชดใช้ค่าทำศพให้ โดยจะจ่ายที่ 35,000 บาทต่อคน แต่หากเสียชีวิตหลังจากการรักษาพยาบาลตามข้อ 1 ทาง พ.ร.บ. ก็จะจ่ายแบบเหมารวมไม่เกิน 65,000 บาท

2. ค่าเสียหายส่วนเกิน

ค่าเสียหายส่วนเกินหรือค่าชดเชยจะจ่ายหลังจากพิสูจน์ความผิดแล้ว โดยบริษัทประกันภัยที่เป็นฝ่ายผิด จะเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย/ทายาทผู้ประสบภัย ซึ่งแบ่งเป็นกรณีดังนี้

กรณีบาดเจ็บ จะจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาล รวมค่าสินไหมทดแทนให้ไม่เกิน 80,000 บาท

กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะจ่ายชดเชยให้ทั้งหมดเป็นจำนวน 300,000 บาท ซึ่งหมายรวมถึงค่ารักษาพยาบาลด้วย

กล่าวโดยสรุป

การทำ พ.ร.บ.รถยนต์ มีความสำคัญเป็นอย่างมากเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น จะได้รับเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนดเป็นเหมือนการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัย โดยจะให้เงินชดเชยตามวงเงินความคุ้มครองโดยที่สามารถเบิกได้โดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิดและอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี

iber.me/tanai-athip

สำนักงานทนายฟ้องประกัน
มีปัญหาคดีความโทรปรึกษา โทร 061-939-9935

 

 

 

 

Facebook Comments