Home คดีครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับสินสอด ตามกฎหมายมีอย่างไรบ้าง

ความรู้เกี่ยวกับสินสอด ตามกฎหมายมีอย่างไรบ้าง

4878

ความรู้เกี่ยวกับสินสอด ตามกฎหมายมีอย่างไรบ้าง

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1437 วรรคสาม สินสอดคือทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง ของฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการตอบแทนที่ฝ่ายหญิงยอมสมรสด้วยกับฝ่ายชาย หากไม่มีการสมรสเกิดขึ้นเพราะเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดยพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้นได้ ฝ่ายชายย่อมชอบที่จะเรียกสินสอดคืนจากฝ่ายหญิงได้ โดยจากวัตถุประสงค์ในการให้สินสอดแก่ฝ่ายหญิงดังกล่าวสามารถแยกอธิบายลักษณะของสินสอดได้ดังนี้

1.สินสอดต้องเป็นทรัพย์สิน เช่น เงิน หรือทรัพย์ต่างๆ และหมายความรวมถึงสิทธิเรียกร้องด้วย โดยตัวทรัพย์ที่เป็นสินสอดนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องส่งมอบกันในขณะทำสัญญา โดยจะตกลงนำสินสอดมามอบให้แก่ฝ่ายหญิงในภายหลังก็ได้ ในข้อนี้จะเป็นข้อที่แตกต่างกับเรื่องของหมั้น

2.ต้องเป็นของฝ่ายชายที่มอบให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เท่านั้น บุคคลอื่นนอกจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นย่อมไม่มีสิทธิเรียกหรือรับสินสอดไว้

3.เป็นการให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสด้วย ไม่ใช่การให้โดยเสน่าหา แต่ถือเสมือนว่าเป็นการให้ตามสัญญาต่างตอบแทน และทรัพย์ที่เป็นสินสอดนั้นเมื่อได้ส่งมอบไปแล้วย่อมถือเป็นสิทธิเด็ดขาดของฝ่ายหญิงทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีการสมรสกันก่อน แต่หากฝ่ายชายได้ตกลงว่าจะมอบสินสอดให้กับฝ่ายหญิงแต่ต่อมาไม่มีการสมรสเกิดขึ้นเพราฝ่ายชายเป็นฝ่ายผิดสัญญา ฝ่ายหญิงก็ยังมีสิทธิเรียกสินสอดจากฝ่ายชายตามข้อตกลงได้

การให้สินสอดแก่กันนั้นจะต้องตกลงให้แก่กันก่อนสมรส แต่ทรัพย์สินที่เป็นสินสอดซึ่งตกลงจะให้นั้นจะมอบให้แก่ฝ่ายหญิงก่อนสมรสหรือหลังสมรสก็ได้ไม่จำเป็นจะต้องมอบให้ในขณะทำสัญญาว่าจะให้ รวมทั้งไม่จำเป็นต้องมอยสินสอดให้แก่ฝ่ายหญิงในขณะที่ทำการหมั้นด้วยเช่นกัน ซึ่งจะแตกต่างๆกับเรื่องของหมั้นที่กฎหมายบังคับว่าจะต้องให้กันในเวลาหมั้น เท่านั้น โดยในการตกลงจะให้สินสอดนี้กฎหมายมิได้กำหนดแบบเอาไว้ ดังนั้นการตกลงให้สินสอดแก่ฝ่ายหญิงไม่ว่าจะตกลงด้วยวาจาหรือตกลงเป็นลายลักอักษรณ์ก็ถือได้ว่ามีการตกลงจะให้สินสอดแก่กันตามกฎหมายแล้ว

อนึ่ง ในการหมั้นหรือการสมรสกันของชายหญิงนั้นกฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องมีการให้สินสอดแก่บิดามารดาฝ่ายหญิงทุกกรณี ดงันั้น สินสอดจึงไม่ใช่สาระสำคัญของการหมั้นหรือการสมรส ชายหญิงที่ทำการหมั้นหหรือการสมรสกันโดยไม่ต้องมีสินสอดก็ได้ เพียงแต่หากได้มีการตกลงว่าจะให้สินสอดแก่กันแล้ว ฝ่ายชายไม่ยอมให้ ฝ่ายหญิงก็ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินสอดเท่านั้น

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดาโทร

 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments