Home คดีครอบครัว คุณสมบัติของนายหน้าประกันชีวิต ตามกฎหมายต้องมีอะไรบ้าง

คุณสมบัติของนายหน้าประกันชีวิต ตามกฎหมายต้องมีอะไรบ้าง

1758

คุณสมบัติของนายหน้าประกันชีวิต

เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของนายหน้าประกันชีวิตมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยและผู้รับผลประโยชน์ซึ่งถือเป็นผู้บริโภค ในการเสนอขายประกันในแต่ละครั้งจึงต้องเห็นถึงความสำคัญของผู้บริโภคเป็นสำคัญไม่ว่าจะเป็นการแจ้งผลประโยชน์ในความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยต่างๆ หรือการแจ้งข้อยกเว้นในส่วนที่จะไม่ได้รับความคุ้มครองมีในกรณีใดบ้าง ดังนั้น เพื่อเป็นการตุ้มครองผลประโยชน์ของสาธารณชนส่วนรวมและสังคม จึงจำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อมาใช้บังคับสำหรับนายหน้าประกันชีวิต ซึ่งตามปกติในธุรกิจประกันภัยถือเป็นกิจการที่รัฐต้องให้การดูแลและควบคุมอยู่แล้ว ซึ่งหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่คอบกำกับและดูแลในเรื่องดังกล่าวก็คือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ซึ่งได้มีกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายหน้าประกันชีวิตไว้  ดังนี่

1.กรณีนายหน้าประกันชีวิตเป็นบุคคลธรรมดา บุคลลธรรมดาซึ่งจะขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 ซึ่งได้กำหนดคุณสมบัติไว้ดังนี้

1.ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ

2.มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย

3.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

4.ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาต

5.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

6.ไม่เป็นตัวแทนประกันชีวิต กรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทประกันชีวิต

7.ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตในระยะเวลา 5 ปี ก่อนวันที่ขอรับใบอนุญาต

8.ได้รับการศึกษาวิชาการประกันชีวิตจากสถาบันการศึกษาที่นายทะเบียนประกาศกำหนดหรือสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตได้ตามหลักสูตรที่นายทะเบียนประกาศกำหนด

2.กรณีนายหน้าประกันชีวิตเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคลซึ่งจะขอรับใบอนุยาติเป็นนายหน้าประกันชีวิตจะต้องมีคุณสมบัติตามที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 72 รวมทั้งตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต และการอนุญาตให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันชีวิต พ.ศ. 2554

1.เป็นบริษัทจำกัดหรือเป็นบริษัทมหาชนจำกัด

2.มีสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย

3.มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการเป็นนายหน้าประกันชีวิต

4.มีพนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับใบอนุญาติเป็นนายหน้าประกันชีวิตตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 เป็นผู้ทำการแทนนิติบุคคลดังกล่าว

5.ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตใยระยะเวลา 5 ปี ก่อนวันขออนุญาต

6.ผู้ถือหุ้นได้ใช้เงินในหุ้นแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท

7.ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันชีวิต อย่างน้อย 2 คน ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนวันยื่นคำขอรับใบอนุญาต และต้องเข้ารับการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตตามที่นายทะเบียนกำหนด

มีปัญหาคดีควมปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments