Home คดีอาญา โทษของการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต

โทษของการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต

6235

โทษของการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต

ตามกฎหมายแล้วการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคารจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเสมอ ถ้าเป็นในเขตของกรุงเทพมหานครก็จะต้องขออนุญาตจากสำนักงานเขต กองควบคุมอาคาร หรือสำนักการโยธา ตามชนิดของอาคารที่จะทำการก่อสร้างหรือรื้อถอน หากเป็นในเขตพื้นที่ต่างจังหวัดก็จะต้องขออนุญาตหน่วยงานในท้องที่นั้นๆ เช่น เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่นั้นขึ้นอยู่กับว่าองค์กรส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นของหน่วยงานใด โดยเหตุผลที่จะต้องมีการบังคับเป็นบทบัญญัติของกฎหมายก็เพราะการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคารนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำกับโครงของสร้างอาคารซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องมีการกระทำอย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรมเพราะหากมิได้กระทำให้ถูกต้องแล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ทำการก่อสร้างหรือรื้อถอนเอง ผู้อยู่อาศัย รวมทั้งอาจเกิดอันตรายกับเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ กฎหมายจึงจำเป็นจะต้องบัญญัติให้การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร ต้องได้รับการตรวจสอบจากภาครัฐก่อน จึงจะอนุญาตให้ดำเนินการได้โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ ดังนั้นหากมีการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายจึงได้มีการบัญญัติเรื่องโทษของการฝ่าฝืนเอาไว้ และผลของการฝ่าฝืนสามารถแยกอธิบายได้ดังนี้

1.การก่อสร้าง ดัดแปลง อาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่การก่อสร้าง หรือดัดแปลงนั้นยังสามารถขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงได้ กล่าวคือ มีการเว้นระยะตามกฎหมายและได้ทำถูกต้องตากหลักวิศวกรรมแต่ไม่ได้มีการยื่นขออนุญาตก็จะมีโทษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 65 โดยมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ตามวรรคสองยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง นอกจากนี้เมื่อได้ก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต หากจเพนักงานตรวจพบเจ้าพนักงานจะมีอำนาจ สั่งให้หยุดการก่อสร้าง ส่งห้ามใช้หรือเข้า หรือสั่งให้ไปปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องการขออนุญาต หรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 โดยอาคารที่สามารถแก้ไขหรือไปดำเนินการขออนุญาตได้ ก็จะได้รับโทษเฉพาะข้อหาก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

2.การก่อสร้าง ดัดแปลง อาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่การก่อสร้าง หรือดัดแปลง และไม่สามารถขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงได้ กล่าวคือ เป็นอาคารที่ไม่ได้เว้นระยะร่นตามกฎหมายหรือไม่ได้ก่อสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมและไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ นอกจากจะมีความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 เช่นเดียวกับกรณีแรกแล้วนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็จะต้องสั่งให้รื้อถอนทั้งหมดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 ด้วย โดยในระหว่างที่ยังไม่ได้ดำเนินการรื้อถอนค่าปรับรายวันจะยังคงมีอยู่

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments