Home คดีอาญา เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น บ.ประกันต้องจ่ายค่าเสียหายในทันทีหรือไม่

เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น บ.ประกันต้องจ่ายค่าเสียหายในทันทีหรือไม่

980

ประกันภัยกับกรณีหากมีความเสียหายเกิดขึ้น บริษัทประกันภัยฯ จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นทันทีหรือไม่ ?

ประเด็นดังกล่าวนี้มีบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวโดยตรง คือ

พระราชบัญญัติคุ้มครองประกันรถยนต์ พ..๒๕๓๕

มาตรา ๗  ภายใต้บังคับมาตรา 8 เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัท

จำนวนเงินเอาประกันภัย ให้กำหนดตามชนิด ประเภท และขนาดของรถแต่ต้องไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๐    เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทได้รับประกันภัยไว้ ให้บริษัทจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยเมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้ประสบภัย

ความเสียหายที่จะให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น การร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๕   ให้บริษัทหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 มาตรา 23 หรือมาตรา 24 ให้แก่ผู้ประสบภัยให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง-ขอ  ทั้งนี้ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิด

ให้ถือว่าค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๓๑   ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หรือเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถ หรือผู้ประสบภัย เมื่อบริษัทได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือเมื่อหน่วยงานตามมาตรา 8 (1) (2) (3) หรือเจ้าของรถตามมาตรา 8 (4) ได้จ่ายเงินคืนกองทุนตามมาตรา 32 ไปแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใดให้บริษัท หรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย หรือหน่วยงานตามมาตรา 8 (1) (2) (3) หรือเจ้าของรถตามมาตรา 8 (4) แล้วแต่กรณี มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลดังกล่าวหรือมีสิทธิเรียกให้ผู้ประสบภัยคืนเงินดังกล่าวได้

การใช้สิทธิตามวรรคหนึ่ง ต้องกระทำภายในหนึ่งปีนับแต่วันรู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิด แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนตามหมวดนี้ให้แก่ผู้ประสบภัย

1.พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มุ่งให้ประชาชนทุกคนทั่วประเทศที่ประสบอุบัติเหตุอันเกิดจากรถ ได้รับความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตและร่างกาย โดยให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามความเป็นจริงในกรณีบาดเจ็บ และ/หรือได้รับค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพในกรณีเสียชีวิต เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัว

2.ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยทุกคนจะได้รับ คือ เมื่อประสบอุบัติเหตุจากรถ บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทตามจำนวนความรับผิดในกรมธรรม์ โดยค่าเสียหายนี้จะได้รับเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับภายใน 7 วันนับจากวันร้องขอต่อบริษัทประกันภัย โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความถูกผิดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องแรกและส่วนที่สองคือส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น ที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับโดยเร็วหลังจากมีการพิสูจน์ความถูกผิดแล้ว สำหรับผู้ประสบภัยซึ่งเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุนั้นจะได้รับค่าเสียหายเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

3.รถที่ต้องทำประกันภัยตามกฎหมายนี้คือรถทุกคันทุกประเภท เช่น รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์ส่วนบุคคล และรับจ้าง รถเก๋ง รถปิคอัพ รถบรรทุก รถโดยสาร รถแทรกเตอร์ รถอีแต๋น รวมทั้ง รถพ่วง เป็นต้น โดยเจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อต้องจัดให้มีการประกันภัยตามที่กฎหมายกำหนด

4.กฎหมายนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2536 เป็นต้นไป มีผลใช้

4.1 เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อ ต้องจัดให้มีการประกันภัยภายใน 180 วันนับแต่วันที่ประกาศใช้บังคับ (คือตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536)

4.2 ในการจดทะเบียนใหม่ (รถใหม่) ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายา 2536 เป็นต้นไป ต้องทำประกันภัยให้เรียบร้อยก่อนยื่นขอจดทะเบียน

4.3 ในการยื่นของจดทะเบียน หรือเสียภาษีรถประจำปี ให้นำเอกสารส่วนที่ต่อท้ายหน้าตารางกรมธรรม์ที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยยื่นต่อนายทะเบียนขนส่งเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้จัดให้มีการประกันภัยตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว

5.ผู้ประสบภัยจากรถ หมายถึง ประชาชนทุกคนที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่รถโดยสาร บุคคลในครอบครัว ลูกจ้างหรือบุคคลอยู่นอกรถ เช่น คนเดินภนน ข้ามถนนหรือแม้แต่คนที่กำลังนอนอยู่ในบ้าน หากได้รับความเสียหายจากรถที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้

6.การทำประกันภัยตามกฎหมายนี้ เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถต้องดำเนินการ ดังนี้

6.1 การทำรถจดทะเบียนใหม่ (รถใหม่) ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2536 เป็นต้นไป ต้องทำประกันภัยให้เรียบร้อยก่อนการยื่นทะเบียน

6.2 รถเก่าที่ต้องเสียภาษีประจำปี (ต่อทะเบียน) ต้องทำประกันภัยให้เรียบร้อยภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2536

การยื่นขอจดทะเบียนหรือเสียภาษีรถ ให้นำเอกสารส่วนที่ต่อท้ายหน้าตารางกรมธรรม์ที่ได้รับจากบริษัทประกันภัย ยื่นต่อนายทะเบียนขนส่งเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้จัดทำประกันภัยตามกฎหมายนี้เรียบร้อยแล้ว

7.เจ้าของรถ ผู้เช่าซื้อรถ หรือผู้ที่นำรถที่จดทะเบียนต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศไทย สามารถทำประกันภัยตามกฎหมายนี้ได้ที่บริษัทประกันภัยรถยนต์หรือสาขาทั่วประเทศในอัตราค่าเบี้ยประกันที่เท่ากันสำหรับรถประเภทเดียวกัยและเมื่อทำประกันภัยเรียบร้อยแล้ว ท่านจะได้รับกรมธรรม์ประกันภัย ใบเสร็จรับเงินและเครื่องหมาย ซึ่งท่านจะต้องนำไปติดไว้ที่หน้ากระจกรถ หรือในที่ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน (สำหรับกรณีที่ไม่ใช่รถยนต์)

8.บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยหรือทายาท ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทร้องขอต่อบริษัท โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความถูกผิดของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

9.ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2536 เป็นต้นไป รถที่ทำประกันภัยตามกฎหมายนี้เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่ารถใหม่หรือรถเก่า จะได้รับความคุ้มครองทันทีตามสัญญาประกันภัย (กรมธรรม์)

10.กฎหมายนี้ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเฉพาะความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต ร่างกาย และอนามัยเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายของทรัพย์สิน เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อสามารถซ้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้โดยสมัครใจ บริษัทประกันภัยจะบังคับให้ผู้เอาประกันภัยต้องซื้อความคุ้มครองเพิ่มโดยผู้ซื้อไม่สมัครใจไม่ได้

11.เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถและมีผู้ได้รับบาดเจ็บควรรีบนำผู้ประสบภัยส่งโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลที่ใกล้และสะดวกที่สุด แล้วรีบแจ้งบริษัทประกันภัย (ดูชื่อบริษัทจากเครื่องหมายติดรถ) เพื่อขอรับค่าเสียหาย

การร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น หากผู้ประสบภัยไม่สามารถร้องขอได้ ให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่รักษาผู้ประสบภัย ญาติหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย แล้วแต่กรณีร้องขอแทนได้ และต้องมีหลักฐานดังต่อปี้

  • ความเสียหายต่อร่างกาย (กรณีบาดเจ็บ)
  • ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลหรือหลักฐานการแจ้งหนี้ที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการ เป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้น เป็นผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณี
  • ความเสียหายต่อชีวิต (กรณีเสียชีวิต)
  • สำเนามรณบัตร
  • สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของตำรวจหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตายเพราะการประสบภัยจากรถ

12.ในกรณีที่บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือจ่ายให้ไม่ครบ ให้ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณี ยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามแบบฟอร์มของทางราชการ ต่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งอยู่ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) 22/79 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และสำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต เขต 1 พระโขนง เขต 2 บางเขน เขต 3 ธนบุรี เขต 4 ตลิ่งชัน สำหรับในต่างจังหวัด สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด

13.ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายผิด หรือไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฎหมาย จะได้รับการชดใช้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

14.ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่เกินกว่าความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ผู้จากกระทำละเมิดและผู้กระทำความผิดต้องได้รับโทษทางอาญาด้วย

15.ในกรณีที่รถตั้งแต่สองคันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถ ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันนั้นจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยที่อยู่ในรถคันที่เอาประกันภัยกับบริษัท แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นผู้ประสบภัยเป็นผู้ที่อยู่นอกรถ (อาจเดินอยู่บนถนน หรือในบ้าน ฯลฯ) ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถที่ก่อเหตุแต่ละคันนั้น ร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้แก่ผู้ประสบภัยทุกคนโดยเฉลี่ยจ่ายในอัตราส่วนที่เท่ากัน

16.ในกรณีที่บริษัท หรือเจ้าของรถ บอกเลิก กรมธรรม์ประกันภัยก่อนครบกำหนดความคุ้มครอง (ก่อนวันสิ้นสุดอายุสัญญา) ไม่ว่าด้วยเหตุใด บริษัท ต้องแจ้งการบอกเลิกนั้นให้นายทะเบียนทราบ และเจ้าของรถ ต้องส่งคืนเครื่องหมาย (สติกเกอร์) แสดงว่ามีการประกันภัยให้แก่นายทะเบียน (อธิบดีกรมการประกันภัยหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย) หรือทำให้เครื่องหมายนั้นใช้ต่อไม่ได้

17.บทกำหนดโทษ กฎหมายนี้ได้กำหนดโทษของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไว้หลายกรณีด้วยกัน อาทิ

17.1 เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อ (รวมทั้งผู้นำรถจดทะเบียนต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศไทย) ไม่จัดให้มีการประกันภัย มีโทษปรับตามกฎหมาย

17.2 ผู้ใดนำรภที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยไปใช้มีโทษปรับตามกฎหมาย

17.3 เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อ ไม่ติดเครื่องหมาย ไม่ส่งคืนเครื่องหมาย ไม่ทำลายเครื่องหมาย หรือนำเครื่องหมายที่ต้องส่งคืนไปติดที่รถ จะมีความผิดและมีโทษปรับตามกฎหมาย

17.4 ผู้ประสบภัยผู้ใดยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นโดยทุจริตหรือเป็นหลักฐานอันเป็นเท็จ มีโทษทั้งปรับและจำ

17.5 บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอจากผู้ประสบภัยหรือทายาท มีโทษปรับตามกฎหมาย

  • บริษัทประกันภัยใดที่ไม่รับประกันภัยตามกฎหมายนี้มีโทษปรับ

 

 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประกันภัยจากรถ หากมีความเสียหายเกิดขึ้น ผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ไปโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดก่อนเสมอ

 

 

จากกรณีตามประเด็นดังกล่าวมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ศึกษาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๒๒/๒๕๕๙

ช. เอาประกันภัยรถจักรยานยนต์ไว้กับโจทก์ เป็นการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งมาตรา 7 บังคับให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย หากมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่โจทก์รับประกันภัยไว้ โจทก์ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่ที่ได้รับ คำร้องขอ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 และ 25 เมื่อได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้กระทำให้เกิดความเสียหายได้ตามมาตรา 31 อันเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายซึ่งบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ มิใช่เป็นเรื่องโจทก์รับช่วงสิทธิของผู้ประสบภัยมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 เพราะผู้ประสบภัยไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย โดยเดิม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 บัญญัติให้การใช้สิทธิไล่เบี้ยต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ตัว ผู้ซึ่งต้องรับผิด แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัย แต่ต่อมามี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2550 มาตรา 11 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 โดยมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ใช้ข้อความใหม่แทนข้อความเดิมที่ถูกยกเลิกไป จึงเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไล่เบี้ยไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่ที่โจทก์จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

 

         ดังนั้นพอสรุปได้ว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประกันภัยจากรถ หากมีความเสียหายเกิดขึ้น บริษัทประกันภัยฯ จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยทันที

iber.me/tanai-athip

สำนักงานทนายฟ้องประกัน
มีปัญหาคดีความโทรปรึกษา โทร 061-939-9935

 

Facebook Comments