Home ทั้งหมด ผู้กระทำละเมิดจะอ้างว่าทายาทไม่มีความเสียหาย เพราะได้มีการทดแทนโดยการใช้เงินจากผู้รับประกันชีวิตแล้วได้หรือไม่  ?

ผู้กระทำละเมิดจะอ้างว่าทายาทไม่มีความเสียหาย เพราะได้มีการทดแทนโดยการใช้เงินจากผู้รับประกันชีวิตแล้วได้หรือไม่  ?

1601

ผู้กระทำละเมิดจะอ้างว่าทายาทไม่มีความเสียหาย เพราะได้มีการทดแทนโดยการใช้เงินจากผู้รับประกันชีวิตแล้วได้หรือไม่  ?

บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้โดยตรง คือ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๘๙๖  ถ้ามรณภัยเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยหาอาจจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นได้ไม่ แต่สิทธิของฝ่ายทายาทแห่งผู้มรณะในอันจะได้ค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นหาสูญสิ้นไปด้วยไม่ แม้ทั้งจำนวนเงินอันจะพึงใช้ตามสัญญาประกันชีวิตนั้นจะหวนกลับมาได้แก่ตนด้วย

มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

การเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีมรณภัยเกิด เพราะความรับผิดของบุคคลภายนอก

ทายาทของผู้ประกันชีวิตมีสิทธิเรียกร้องได้ ๒ ทาง  ดังนี้

๑.ผู้กระทำละเมิด

๒.ผู้รับประกันภัย

 

ผู้รับประกันเมื่อใช้เงินแก่ทายาทหรือผู้รับประโยชน์แล้ว ไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิไปไล่เบี้ยจากผู้กระทำละเมิด

ทายาทจะเรียกร้องจากผู้รับประกันภัย ก่อน หรือหลัง ก็ได้

กรณีตามประเด็นดังกล่าวมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ศึกษาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๖๑/๒๕๑๕  ( ประชุมใหญ่ )

จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตายโจทก์นำสืบฟังได้ว่าเมื่อครั้งภริยาโจทก์มีชีวิตอยู่เป็นแม่บ้านจัดการบ้านเรือนด้วยตนเอง เมื่อภริยาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์ต้องจ้างคนทำงานแทน 2 คนโดยทำหน้าที่ซักผ้า ตักน้ำ ถางหญ้า คนหนึ่งทำครัวกวาดถู-บ้านอีกคนหนึ่ง ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค3 ประกอบด้วย มาตรา 1453
การที่ศาลกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา ศาลเป็นแต่กำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิดและ กฎหมายก็บัญญัติให้ถือว่า จำเลยผิดนัดตั้งแต่วันทำละเมิดจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินก้อน แม้จะขอค่าเสียหายที่คำนวณในอนาคตเข้ามาด้วย จำเลยก็จะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2514)

ดังนั้นพอสรุปได้ว่า ผู้กระทำละเมิดจะอ้างว่าทายาทไม่มีความเสียหาย เพราะได้มีการทดแทนโดยการใช้เงินจากผู้รับประกันชีวิตแล้วไม่ได้

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments