Home บทความคดีแพ่ง การกระทำใดที่ถือว่าเป็นความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค

การกระทำใดที่ถือว่าเป็นความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค

1208

การกระทำใดที่ถือว่าเป็นความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค

การใช้เช็ค ซึ่งจะมีผลเป็นความผิดทางอาญานั้นมีบัญญัติอยู่ในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิด ทางอาญาของผู้ออกเช็คหรือสั่งจ่ายเช็คหรือผู้ใช้เซ็คไว้ดังนี้

มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีลักษณะหรือมี

การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น (2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ (3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึง ให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น

(4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้

(5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้า ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

เพื่อความเข้าใจที่ง่ายควรแยกองค์ประกอบความผิดทางอาญาอันเกิดจากการใช้ เช็คดังนี้

 

1. ผู้ใดออกเช็ค

2. เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย คือ

3. โดยมีลักษณะหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย

3.1 เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

3.2 หรือในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้

3.3 หรือให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงิน ได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น

3.4 หรือถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตาม เช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้

3.5 หรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต

4. เมื่อได้มีการยื่นเช็คนั้นเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ธนาคารปฏิเสธ ไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น

ผู้ที่กระทำการเข้าลักษณะหรือองค์ประกอบทั้ง 4 ประการดังกล่าว ผู้นั้นก็มีความผิด ทางอาญาข้อหากระทำความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และมีโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สาระสำคัญขององค์ ประกอบทั้ง 4 ประการดังกล่าวนั้น มีเนื้อหารายละเอียดที่ต้องอธิบายดังต่อไปนี้

ปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานนคร สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ทนายความ
สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ ถนนร่มเกล้า ซอย10 แขวง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
หมู่บ้านศุภาลัย พาร์ควิลล์3 ซอย4 (อยู่ระหว่างซอย10 และซอย 8)
บ้านเลขที่ 290/221 โทร 0899811406 ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.byslaw.com/

Facebook Comments