Home บทความคดีแพ่ง การแสดงข้อความอันเป็นเท็จศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

การแสดงข้อความอันเป็นเท็จศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

695

การแสดงข้อความอันเป็นเท็จศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

การแสดงข้อความอันเป็นเท็จ อาจจะเป็นการแสดงด้วยวาจา ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย ธรรมดากันต่อหน้าหรือทางโทรศัพท์ การแสดงข้อความด้วยเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร หรือ กิริยาท่าทางก็ได้ เช่น กิริยาอาการนิ่งก็อาจเป็นการแสดงข้อความเท็จโดยปริยายได้ หรืออาจ เป็นวิธีการอื่นใดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จก็ได้ทั้งสิ้น เช่น การย้ายป้าย ราคาสินค้าถูกมาไว้ที่สินค้าราคาแพง เพื่อให้คนขายทำการขายสินค้าผิดราคา ก็ถือว่าเป็นการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จแล้ว

เมื่อมีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแล้ว ผลที่เกิดขึ้นจากการหลอกลวงที่มีการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าว ต้องเป็นผลทำให้ผู้หลอกลวงได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วย หากการหลอกลวงดังกล่าว ผู้หลอกลวงไม่ได้อะไรไปก็ไม่เป็นความผิด ฐานฉ้อโกง

ส่วนคำว่า “ทรัพย์สิน” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘ ให้ หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ฉะนั้น สิ่งของต่างๆ เช่น บ้าน ที่ดิน เรือ รถ ข้าว ธนบัตร เช็ค ตั๋วเครื่องบิน จึงมีความหมายรวมอยู่ในทรัพย์สินด้วย

ปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานนคร สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ทนายความ

สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ ถนนร่มเกล้า ซอย10 แขวง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
หมู่บ้านศุภาลัย พาร์ควิลล์3 ซอย4 (อยู่ระหว่างซอย10 และซอย 8)
บ้านเลขที่ 290/221 โทร 0899811406 ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.byslaw.com/

 

Facebook Comments