Home บทความคดีแพ่ง ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

855

ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

การใช้เช็คหรือการออกเช็ค ก็คือการสั่งจ่ายเช็ค หมายถึงการที่บุคคลใดลง ลายมือชื่อในตราสารที่มีลักษณะเป็นเช็ค โดยมีสารสำคัญเป็นการสั่งให้ธนาคารแห่งหนึ่ง จ่ายเงินให้แก่บุคคลคนหนึ่งตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คนั้น ณ วันที่ระบุในเช็ค เพื่อเป็นการ ชำระหนี้ให้แก่บุคคลผู้นั้น ตามกฎหมายเรียกผู้ออกเช็คหรือสั่งจ่ายเช็คว่า “ผู้สั่งจ่ายเช็ค” และ เรียกบุคคลที่รับเช็คหรือผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นว่า “ผู้ทรงเช็ค” และ ผู้ทรงเช็คสามารถโอนเช็คนั้นให้บุคคลที่ 3 หรือที่ 4 หรือบุคคลต่อๆ ไปได้จนถึงผู้รับเช็คคนสุดท้าย ซึ่งบุคคลผู้นั้นก็คือผู้ทรงเช็ค เมื่อเช็คนั้นถึงกำหนดตามที่ระบุในเช็ค ผู้ทรงเช็คก็มีสิทธินำเช็ค นั้นไปขึ้นเงินหรือเรียกเก็บเงินจากธนาคารที่ระบุในเช็คนั้น ถ้าธนาคารนั้นปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ว่าด้วยเหตุใดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ผู้สั่งจ่ายเช็คก็ต้องรับผิดในทางแพ่งต้องชดใช้เงิน ตามจำนวนที่ระบุในเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็ค มิฉะนั้นผู้ทรงเช็คก็มีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็ค หรือผู้ออกเช็คให้รับผิดทางแพ่งเพื่อขอให้ศาลบังคับให้ผู้สั่งจ่ายเช็คชดใช้เงินตามจำนวนที่ ระบุในเช็ค มิฉะนั้นก็ขอให้บังคับยึดทรัพย์สินของผู้สั่งจ่ายเช็คขายทอดตลาดนำเงินมาชำระ ให้แก่ผู้ทรงเช็ค ซึ่งเป็นเรื่องทางแพ่งและไปตามกฎหมายแพ่งตามที่บัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 21 ว่าด้วยเรื่องตัวเงินหมวดที่ 4 ว่าด้วยเรื่องเช็ค

ความผิดทางอาญา การออกเช็คหรือสั่งจ่ายเช็คแล้วต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ตามเช็คดังกล่าวนั้น นอกจากผู้สั่งจ่ายจะต้องรับผิดทางแพ่งชดใช้เงินให้แก่ผู้ทรงเช็คแล้ว ผู้สั่งจ่ายยังอาจมีความผิดทางอาญาด้วย ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการออกเช็คหรือ สั่งจ่ายเช็คแล้วไม่มีเงินจ่ายตามเช็คเพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ซึ่งภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เช็คเด้ง” ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้สั่งจ่ายเช็คต้องรับโทษทางอาญาด้วยนั้น จึงมีพื้นฐานมาจาก

ปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานนคร สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ทนายความ
สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ ถนนร่มเกล้า ซอย10 แขวง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
หมู่บ้านศุภาลัย พาร์ควิลล์3 ซอย4 (อยู่ระหว่างซอย10 และซอย 8)
บ้านเลขที่ 290/221 โทร 0899811406 ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.byslaw.com/

Facebook Comments