ความรู้เกี่ยวกับค่าเสียหายทางแพ่งในคดีหมิ่นประมาทตามกฎหมายมีอะไรบ้าง
นอกจากจะถูกจำคุกหรือถูกปรับในคดีอาญาแล้ว ผู้กระทำหรือจำเลยอาจจะ ถูกฟ้องให้ชดใช้ค่าเสียหายฐานทำให้เขาเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังในทางแพ่ง ได้อีกด้วย ทั้งนี้ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ขอให้ศาลบังคับ จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ได้ หรือถ้าผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาเอง ก็เรียก ค่าเสียหายทางแพ่งพร้อมกันไปด้วยได้ หรือถ้าไม่เรียกค่าเสียหายทั้ง ๒ กรณีดังกล่าว ผู้เสียหายจะแยกคดีส่วนแพ่งมาฟ้องเป็นคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายต่างหากก็ได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา ๔๐, ๘๔/๑)
มาตรา ๓๒๖,ความผิดฐานหมิ่นประมาทที่กล่าวมา
คดีที่เกิดขึ้นเสมอๆ และน่าจะสนใจพิเศษก็คือ ข้อหา “ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือ ด้วยการโฆษณา” (มาตรา ๓๔๓) ดูจะเป็นคดีที่เกิดขึ้นง่ายและเกิดมากที่สุด อัตราโทษ จำคุกไม่เกิน ๑ เดือนหรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อันเป็นความผิด ลหุโทษ และข้อหา “ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน” (มาตรา ๑๓๖) ซึ่งผู้กระทำก็ถูกเจ้าพนักงาน ตั้งข้อหา และฟ้องร้องต่อศาลอยู่เสมอเช่นเดียวกัน
ที่กล่าวมาเป็นโครงร่างของความผิดฐานหมิ่นประมาทและฐานความผิดใกล้เคียง เพื่อให้ท่านเห็นโครงร่างใหญ่ๆ อันเป็นภาพรวมของกฎหมายลักษณะนี้ไว้พลางก่อน ต่อไป จะเข้าสู่เนื้อหารายละเอียดแต่ละเรื่องแต่ละตอน ซึ่งจะพยายามพูดแบบประหยัดเวลาสรุป ให้กระทัดรัดเท่าที่จะทำได้