ประเภทค่าสินไหมทดแทน ในมาตรา ๔๓๔ นี้ มีอยู่สองคำที่ต้องทำ ความเข้าใจคือ คำว่า “ค่าสินไหมทดแทน” กับคำว่า “ค่าเสียหาย” ทั้งสองคำนี้มี บัญญัติไว้ในเรื่องนิติกรรมสัญญาด้วย โดยในมาตรา ๒๒๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่น ที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น” คำว่า “ค่าเสียหาย” และ “ค่า สินไหมทดแทน” ตามมาตรา ๒๒๒ จึงมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่คำว่า “ค่า สินไหมทดแทน” ตามมาตรา ๔๓๔ เป็นคำกว้าง เป็นการชดใช้ความเสียหายอัน เกิดจากการทำละเมิด ได้แก่
๑. การคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์นั้น
๒. การใช้ค่าเสียหาย
แต่การใช้ค่าสินไหมทดแทนหามีเพียงการคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคา ทรัพย์และการใช้ค่าเสียหายเท่านั้นไม่ กรณีทำให้เขาเสียหายแก่ชื่อเสียง แล้ว ศาลสั่งให้จัดการเพื่อให้ชื่อเสียงคืนดีตามมาตรา ๔๔๗ ก็เป็นการใช้ค่าสินไหม ทดแทนอย่างหนึ่ง เพราะอยู่ในหมวด ๒ เรื่องค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เหมือนกัน การให้หยุดการทำละเมิดต่อเนื่องแม้ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทน แต่ก็ อาจฟ้องได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายนั้น ๆ เช่น การอยู่ในที่พิพาทโดยละเมิด แล้วไม่ยอมออก ต้องอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ตามมาตรา ๑๓.๓๖ หรือสิทธิ ครอบครองตามมาตรา ๑๓๗๕ เรียกคืนการครอบครอง หรือการระงับเรื่องการ ก่อความเดือดร้อนรำคาญตามมาตรา ๑๓๓๗ การให้รื้อสิ่งปลูกสร้างที่ละเมิด การเรียกให้จัดการเพื่อปัดป้องภยันตรายอันจะพึ่งเกิดจากสิ่งปลูกสร้างตาม มาตรา ๔๓๕ หรือการฟ้องหน่วยงานของรัฐที่ไม่ออกใบอนุญาตในการทำกิจการ บางอย่างตามที่ขอ
iber.me/tanai-athip