Home คดีครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในกรณีแยกกันอยู่ชั่วคราว

ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในกรณีแยกกันอยู่ชั่วคราว

2582

ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในกรณีแยกกันอยู่ชั่วคราว

ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในกรณีแยกกันอยู่ชั่วคราวนั้น สามารถแยกอธิบายเป็นกรณีต่างๆ ได้ดังนี้

1.สามีภริยาทำข้อตกลงแยกกันอยู่ต่างหาก

ในการทำข้อตกลงเพื่อแยกกันอยู่นี้สามีภริยาอาจทำข้อตกลงกันด้วยวาจาหรือโดยลายลักษณ์อักษรก็ได้เมื่อสามีภริยาทำข้อตกลงแยกกันอยู่ต่างหากจากกันแล้วสามีภริยาต่างฝ่ายต่างหมดหน้าที่ที่จะต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป แต่สถานะความเป็นสามีภริยายังคงมีอยู่ยังไม่ถือว่าการสมรสสิ้นสุดลง สามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจึงจะทำการสมรสใหม่ไม่ได้ผลของข้อตกลงนี้มีเพียงทำให้การแยกกันอยู่นี้แม้จะเป็นเวลาเกิน 1 ปีก็ไม่ถือว่าเป็นการจงใจละทิ้งร้างคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมาอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (4) ไม่ได้ แต่ถ้าหากการตกลงแยกกันอยู่นี้เป็นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขและสามีภริยาได้แยกกันอยู่มาแล้วเป็นเวลาเกินสามปีสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (4) (4/2)

2.ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราวมี 4 กรณีคือ

2.1) สามีภริยาไม่สามารถที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขได้หมายความว่า การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งกระทำการใด ๆ โดยเจตนาให้เกิดหรือในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายจิตใจสุขภาพเสรีภาพหรือชื่อเสียงของบุคคลในครอบครัวหรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัว

2.2) การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายอย่างมากของสามีหรือภริยา อันตรายแก่กายหมายถึงทำให้ความสมบูรณ์ของร่างกายลดน้อยถอยลงจนทำให้เกิดบาดแผลโลหิตไหลและจะต้องเป็นอันตรายอย่างมากต่อกายด้วยเหตุในข้อนี้น่าจะเทียบเคียงได้กับเหตุฟ้องหย่าเพราะการทำร้ายร่างกายตามมาตรา 1516 (3) แต่มีขอบเขตกว้างกว่าโดยรวมถึงการกระทำที่ไม่จงใจทำร้ายด้วยเช่นสามีเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงหากอยู่ร่วมกันภริยาจะได้รับเชื้อโรคภริยาก็อาจมาร้องขอให้ศาลอนุญาตให้แยกกันอยู่ชั่วคราวได้

2.3) อยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่จิตใจอย่างมากของสามีหรือภริยา อันตรายต่อจิตใจหมายถึงการกระทำที่กระทบถึงจิตใจอันเป็นที่เกิดแห่งความรู้สึกความสำนึกความคิดและอารมณ์จนทำให้จิตไม่ปกติฟันเฟือนไม่สมประกอบมากด้วยจึงจะเป็นเหตุมาร้องขอ แต่ทั้งนี้น่าจะรวมถึงการกระทำที่ไม่จงใจทำร้ายจิตใจด้วยเหตุข้อนี้จึงกว้างกว่าเหตุฟ้องหย่าเพราะการทำร้ายจิตใจตามมาตรา 1516 (2) เช่นเดียวกัน

2.4) การอยู่ร่วมกันจะเป็นการทำลายความผาสุกอย่างมากของสามีหรือภริยาความผาสุก หมายถึงความสุขสำราญความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตโดยมีสุขภาพและพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การทำลายความผาสุกต้องเป็นการกระทำที่ร้ายแรงโดยพิเคราะห์ถึงคู่สมรสแต่ละคู่ต่างหากแตกต่างกันไป

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments