ดอกเบี้ยในค่าเสียหายมีได้หรือไม่ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร
ดอกเบี้ยในค่าเสียหาย เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตาม มาตรา ๔๓ ๔ และมาตราต่อ ๆ มาแล้ว หากเป็นตัวเงินจำเลยก็ต้องรับผิดใน ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ ๓๗.๕ ต่อปี ตามมาตรา ๒๐๖, ๒๒๔ ทีนี้ก็มีปัญหาว่า ดอกเบี้ยนับแต่วันไหน คือนับแต่วันละเมิดอันเป็นวันผิดนัด หรือนับแต่วันฟ้อง หรือนับแต่วันพิพากษา เดิมศาลฎีกาให้นับแต่วันฟ้อง (ฎ.๕๐๑๔/๒๕๕nn) ก็มี ให้นับแต่วันพิพากษา (ฎ.๑๖๔๔/๒๕๐๙) ก็มี ซึ่งไม่สอดคล้องกับสองมาตรานี้
มาตรา ๒๐๖ “ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัด มาแต่เวลาที่ทำละเมิด”
มาตรา ๒๒๔ “หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด ร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุ อย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยร้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้”
ทั้งสองมาตราอ่านแล้วรวมความได้ว่าในกรณีทำละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่า ผิดนัดแต่วันทำละเมิด เมื่อเป็นหนี้เงินก็ต้องใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่เวลาผิดนัดก็คือวันทำละเมิดไม่ใช่วันฟ้อง และไม่ใช่วันพิพากษา
ฎ.๒๓๖๑/๒๕๑๕ (ป) “ศาลฎีกา เห็นว่า การที่ศาลกำหนดจำนวนเงิน ค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้น มิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วัน พิพากษา ศาลเป็นแต่กำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่ วันทำละเมิด และกฎหมายก็บัญญัติให้ถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันทำละเมิด จึง ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิด การที่โจทก์ฟ้อง เรียกค่าเสียหายเป็นเงินก้อน แม้จะขอค่าเสียหายที่คำนวณในอนาคตด้วย จำเลย ก็จะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิด”
iber.me/tanai-athip