Home Uncategorized ฟ้องหย่าชาวต่างชาติ มีหลักการใดบ้าง มีกี่ลักษณะ

ฟ้องหย่าชาวต่างชาติ มีหลักการใดบ้าง มีกี่ลักษณะ

2598

ในปัจจุบันนี้หลักการการหย่าในกฎหมายของประเทศต่าง ๆ มีอยู่ ๓ ลักษณะคือ

๑) การหย่าที่ไม่มีคู่สมรสฝ่ายใดกระทำผิดต่อหน้าที่สามีภริยา แต่คู่สมรสทั้งสองฝ่าย ยินยอมหย่าขาดจากกันเอง (mutual consent)

๒) การหย่าที่เป็นการลงโทษคู่สมรสฝ่ายที่กระทำผิดต่อหน้าที่สามีภริยา (the fault theory) คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจึงมีสิทธิถือเป็นข้ออ้างในการฟ้องหย่าได้ เช่น การมีชู้ การทารุณ โหดร้าย หรือการทำร้ายร่างกายอย่างร้ายแรง เป็นต้น

๓) การหย่าที่เป็นมาตรการแก้ไขชีวิตสมรสที่แตกสลายไปแล้ว (The irretrievably broken down of marriage หรือ The no-fault theory) ซึ่งแม้คู่สมรสฝ่ายที่ถูกฟ้องหย่า มิได้กระทำผิดอะไร แต่กฎหมายเปิดโอกาสให้คู่สมรสที่ฟ้องหย่าไปเริ่มต้นชีวิตใหม่กับคนอื่นได้ อาทิเช่น การแยกกันอยู่ การเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง การมีสภาพแห่งกายไม่อาจร่วมประเวณี ได้ตลอดกาล เป็นต้น

หลักการหย่าของกฎหมายต่างประเทศที่น่าสนใจอาจพิจารณาเริ่มต้นจากประเทศอังกฤษ ที่มีการปฏิรูปหลักการเดิมที่ยึดถือทฤษฎีการกระทำผิดต่อหน้าที่สามีภริยาไปสู่หลักกฎหมายหย่า แบบใหม่ที่เรียกว่าการสมรสได้แตกสลายแล้ว โดยการตรา The Divorce Reform Act 1969 ออกมาใช้บังคับ ตามกฎหมายนี้เหตุหย่าตามหลักการกระทำผิดต่อหน้าที่สามีภริยาถูกยกเลิกไปและ แทนที่ด้วยเหตุหย่าเพียงประการเดียวเท่านั้น คือการสมรสนั้นได้แตกสลายจนไม่อาจจะกลับคืนดีกัน ได้อีกต่อไปแล้ว

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments