สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310
สาระสำคัญตามกฎหมายเกี่ยวการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 สามารถแยกอธิบายได้ดังนี้
- มาตรานี้เป็นการสร้างโรงเรือนเท่านั้นไม่เกี่ยวกับการปลูกสร้างอย่างอื่นหรือการเพาะปลูกต้นไม้ ถ้าเป็นการก่อสร้างใดๆ หรือการเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติจะเป็นกรณีตามมาตราอื่น
2.จะต้องเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นทั้งหลังมิใช่เพียงแต่ต่อเติมจากโรงเรือนเดิมเพราะถ้าเป็นการต่อเติมสิ่งที่ต่อเติมย่อมเป็นส่วนควบของโรงเรือนทันทีไม่เกี่ยวกับกรณีตามมาตรานี้
- โรงเรือนที่สร้างในที่ดินของผู้อื่นจะต้องมีลักษณะเป็นส่วนควบกับที่ดินตามมาตรา 144 ด้วย
- จะต้องเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่มีนิติสัมพันธ์กับเจ้าของที่ดินถ้าเป็นการสร้างโดยมีนิติสัมพันธ์กันโดยเจ้าของที่ดินอนุญาตหรือให้เช่าหรือมีสิทธิเหนือพื้นดินก็ไม่ต้องด้วยมาตรานี้ แต่เป็นกรณีมีสิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งเป็นผลให้โรงเรือนไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามมาตรา 146 เช่นสร้างบ้านโดยเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินคนหนึ่งอนุญาตให้สร้างทำให้บ้านไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน แต่ไม่ใช่เป็นการสร้างบ้านในที่ดินของเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งโดยสุจริตตามมาตรา 1310
- ผู้สร้างจะต้องสร้างโดยสุจริตคำว่าสุจริตหมายถึงผู้สร้างเข้าใจว่าตนมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้เช่นเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนหรือที่ดินของคนอื่น แต่ตนมีสิทธิปลูกสร้างได้
6.การสร้างโรงเรือนในที่ราชพัสดุอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแม้สร้างโดยสุจริตก็นำมาตรา 1310 มาใช้ไม่ได้เพราะการสร้างโรงเรือนในที่ดินคนอื่นเป็นเรื่องของเอกชนกับเอกชนไม่ใช่เอกชนกับรัฐ
- กรณีตามมาตรา 1310 ต้องเป็นผู้สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีการสร้างโรงเรือนไว้ก่อนแล้วก็ไม่ต้องด้วยมาตรา 1310
- ผู้สร้างโรงเรือนหมายถึงเจ้าของโรงเรือนไม่ใช่ผู้รับเหมาค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเกิดจากสิ่งปลูกสร้างผู้มีสิทธิจะเรียกได้คือผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นเจ้าของการงานที่ว่าจ้างส่วนผู้รับเหมาหามีสิทธิเรียกจากเจ้าของที่ดินไม่
ส่วนในกรณีตามวรรคสองนั้นเป็นกรณีให้สิทธิเจ้าของโรงเรือนบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไปและทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่าการที่ผู้สร้างปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของตนโดยตนมิได้มีความประมาทเลินเล่อซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นธรรมเพราะตามมาตรา 1310 วรรคหนึ่งนั้นเป็นการบังคับให้เจ้าของที่ดินต้องรับเอาโรงเรือนไว้โดยต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นหากเจ้าของที่ดินมิได้ประสงค์จะได้โรงเรือนมาตรา 1310 วรรคสองจึงเป็นทางออกให้เจ้าของที่ดินส่วนคำว่าประมาทเลินเล่อหมายความว่ามิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะแสดงความเป็นเจ้าของที่ดินให้ผู้อื่นรู้เช่นปล่อยไม่ทำประโยชน์ในที่ดินหรือไม่ได้แสดงอาณาเขตที่ดินเช่นไม่ปักหลักเขตไว้เป็นต้นกรณีอย่างไรเป็นประมาทเลินเล่อจะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไปอย่างไรก็ตามมาตรา 1310 วรรคสองยังบัญญัติต่อไปว่าแม้เจ้าของที่ดินจะไม่ได้ประมาทเลินเล่อ แต่ถ้าจะให้ผู้สร้างรื้อถอนโรงเรือนไปและทำที่ดินให้เป็นตามเดิมทำไม่ได้โดยใช้เงินพอสมควรเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th