พื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร
การออกเช็คหรือการสั่งจ่ายเช็คที่จะถือว่าเป็นความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ ประการหนึ่งคือ ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ซึ่งสามารถแยก พิจารณาได้เป็น 2 ประเด็นคือ (1) ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง (2) และเป็นหนี้ที่บังคับ กันได้ตามกฎหมาย ต่อไปจะได้อธิบายความหมายของหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ประการดังนี้
1. ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง
การออกเช็คที่จะเป็นความผิดทางอาญานั้นต้องเป็นการออกเช็คโดยเจตนา เพื่อเป็นการชำระหนี้และหนี้นั้นต้องมีอยู่จริง หมายความว่าขณะออกเช็คให้แก่ผู้ทรงคนแรก นั้น ผู้ออกเช็คคือขณะส่งมอบเช็คหรือผู้สั่งจ่ายเช็คต้องเป็นหนี้ผู้ทรงคนแรกอยู่แล้ว คือ มีหนี้สิน ต่อกันอยู่ก่อนแล้วจริงๆ กล่าวคือต้องมีหนี้ที่จะต้องชำระต่อกันอยู่แล้วจำเลยจึงออกเช็คเพื่อ ชำระหนี้นั้น และจะต้องเป็นหนี้ที่บังคับกันได้ตามกฎหมายด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ 2254/2535) เช่น ผู้ออกเช็คเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าหรือเป็นหนี้เงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้ว และออกเช็คเพื่อชำระหนี้ นั้นให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้รับเช็ค การออกเช็คและการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงอาจจะเกิดขึ้นพร้อมกัน หรือไล่เบี้ยกันก็ได้ เช่น ผู้ออกเช็คขอยืมเงินจากผู้รับเช็คหรือผู้ทรงเช็คจำนวนหนึ่ง แล้วก็เขียนเช็ค ทันทีเพื่อชำระหนี้ให้แก่ผู้ให้กู้โดยลงวันที่ล่วงหน้า ดังนี้ถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มี อยู่จริง (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 181212514, 2838/2515, 344/2516) เพราะขณะออกเช็ค นั้นผู้ออกเช็คเป็นหนี้ผู้รับเช็คจริงๆ ส่วนจะเป็นหนี้ที่บังคับกันได้ตามกฎหมายหรือไม่เป็นอีก เรื่องหนึ่งซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไป แต่ถ้าขณะออกเช็คให้แก่กันยังไม่มีหนี้ต่อกันหรือหนี้ ไม่เกิดโดยผลของกฎหมาย เช่น เป็นกรณีออกเช็คแล้วนำเช็คนั้นไปขอแลกเงินสดจากผู้รับเช็ค เดี๋ยวนั้น หรือเขียนเช็คไว้ก่อนแล้วส่งมอบเช็คนั้นเพื่อแลกเงินสดกัน อย่างนี้ไม่ถือว่าขณะนั้นมีหนี้ กันจริงๆ จึงไม่ถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงผู้ออกเช็คก็ไม่มีความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 (คำพิพากษาฎีกา ประชุมใหญ่ที่ 1518/2535, คำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 1525/2535 ที่ 1521/2535
ปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานนคร สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ทนายความ